วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกข้าว

    พันธุ์และช่วงเวลาปลูกข้าว พันธุ์ข้าวมี 2 ชนิด คือ 1.      ชนิดไม่ไวแสง  สามารถเพาะปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง  มีอายุเก็บเกี่ยว 110 – 130 วัน ส่วนมากให้ผลผลิตต่อไร่ 100 ถัง เนื่องจากตอบสนองต่อปุ๋ยดี ตัวอย่าง เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี1, สุพรรณบุรี2, ชัยนาท 1, กข. 23 ,เจ้าหอมคลองหลวง1 , และเจ้าหอมสุพรรณบุรี ช่วงเวลาปลูกทำได้ตลอดปีขึ้นอยู่กับสภาพน้ำ แนะนำให้เขตชลประทานโดยวิธีการปักดำ   หรือหว่านข้าวตมอย่างไรก็ดี ไม่แนะ นำให้ปลูกติดต่อกันตลอดปีเป็นเวลานาน ควรปลูกคั่นด้วยพืชหมุนเวียนบ้างในบางฤดู จะช่วยตัดวงจรศัตรูพืชและรักษาสภาพดินที่ ใช้เพาะปลูกข้าว ให้คงความสมบูรณ์ 2.      ชนิดไวแสง  ปลูกได้เฉพาะนาปี มีวันเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างแน่นอน ไม่ว่าจะปลูกเมื่อใด ส่วนมากให้ผลผลิตไม่สูงมากเพราะ ตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ ตัวอย่าง  เช่น  พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 , กข.15 , ขาวตาแห้ง 17 , เหลืองประทิว 123 , และปิ่นแก้ว 56 ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมประมาณเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม  โดยนับวันเก็บเกี่ยวย้อนขึ้นมาให้ข้าวมีอายุ 92-120 วัน (ถ้าใช้วิธีหว่านอายุข้าวจะสั้นลง)  ทั้งนี้ให้พิจารณาประกอบกับสภาพน้ำ ในเขตนาน้ำฝนอาจใช้วิธีหว่านข้าวแห้ง หรือปักดำ วิธีการปลูกข้าว         การทำนาโดยทั่วไปมี 3 วิธี  คือ  นาหว่าน  นาหยอด และนาดำ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่  เช่นที่สูง ที่ลุ่ม  ที่น้ำลึก  สภาพน้ำ  เช่น  เขตน้ำฝน  เขตชลประทาน  สภาพสังคม  เช่น  มีแรงงานหรือไม่มีแรงงาน  สภาพเศรษฐกิจ   เช่น  มีเงินทุนมากหรือน้อย  มีรายละเอียด  คือ   1.      นาหว่าน  ส่วนมากนิยม เนื่องจากขาดแคลนแรงงานสภาพน้ำจำกัด  ยากแก่การปักดำข้าว  หรือพื้นที่อยู่ในเขตน้ำฝนไม่สามารถ ควบคุมปริมาณน้ำได้  เป็นการปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านลงไปในนาที่เตรียมดินไว้แล้ว มี 2 วิธี คือ (1) หว่านข้าวแห้งหรือหว่าน สำรวย (2) หว่านข้าวตม หรือข้าวงอกหรือหว่านเพาะเลย (1) การหว่านข้าวแห้ง   มักใช้วิธีนี้ในเขตนาน้ำฝนหรือในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำไม่ได้  โดยเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไม่ได้เพาะให้งอกเสียก่อน เรียกอีกอย่าง คือ หว่านสำรวย เป็นการหว่านคอยฝนในสภาพดินแห้ง โดยหว่านหลังจากไถแปร  เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หว่าน ไว้จะได้งอก  บางกรณีเพื่อป้องกันการทำลายของศัตรูข้าว จะมีการคราดกลบเมล็ดหลังการหว่าน  ซึ่งอาจเรียกว่าหว่านคราดกลบ         อีกกรณีหนึ่งเป็นการหว่านในสภาพดินเปียก คือ มีฝนตกเมื่อไถแปรแล้ว ก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามทันทีแล้วคราดกลบ  วิธีนี้เรียกว่า  หว่านหลังขี้ไถ การหว่านข้าวแห้งจะใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 10 – 15 กก. (2)     การหว่านข้าวตม  หรือหว่านข้าวงอก  หรือหว่านเพาะเลย  เป็นการหว่านโดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีการเพาะให้งอกกล่าว คือ แช่น้ำสะอาด  12 – 24 ชั่วโมง แล้วนำไปหุ้ม 30 – 48 ชม.  จนมีรากงอกยาวประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร  ที่เรียกว่า  ตุ่มตา  แล้วหว่านลง ในพื้นที่นาที่เตรียมไว้อย่างดี  คือ  ไถดะ  ไถแปร  และทำเทือกจนราบเรียบ  วิธีนี้บางกรณีในเขตนาน้ำฝนควบคุมน้ำได้ยาก  จำเป็นต้อง หว่านในเทือกที่มีน้ำขัง  แต่ในเขตชลประทาน ควรระบายน้ำให้เทือกนุ่มพอดี  สังเกตจากเมล็ดข้าวที่หว่านจะจมในเทือกประมาณครึ่งหนึ่ง ของเมล็ดแนวนอนเมื่อข้าวงอกแล้วค่อยๆระบายน้ำเข้านา  แต่ไม่ให้ท่วมยอดต้นข้าว การหว่านน้ำตม ถ้าเตรียมดินดีวัชพืชน้อยใช้อัตราเมล็ด พันธุ์ไร่ละ  10-15 กก. แต่ถ้าเตรียมดินไม่ดี มีวัชพืชมากในอัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ  15 – 20 กก. 2.      นาหยอด  นิยมในสภาพพื้นที่สูง  พื้นที่ไร่  หรือในสภาพนาที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ใช้เมล็ดข้าวแห้งที่ไม่ได้เพาะให้งอก  หยอดลง ไปในหลุมที่เตรียมไว้โดยใช้จอบเสียม  หรือใช้ไม้กระทุ้ง  ตลอดจนใช้เครื่องหยอด หรืออีกวิธี โดยการโรยเป็นแถว  ในร่องที่ทำเตรียมไว้ แล้วกลบดินฝังเมล็ดข้าว เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หยอดจะงอก ในสภาพไร่หรือที่สูง  อาจทำเป็นหลุมลึก 4-5 เซนติเมตร  หยอดเมล็ดข้าว หลุมละ 5-6 เมล็ด  ส่วนในที่ราบสูง  เช่น  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถทำร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร  นาหยอดจะใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร ่ประมาณ 8-10 กก. 3.      นาดำ  เป็นวิธีการปลูกข้าว โดยแบ่งการปลูกเป็น 2 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นตอนการตกกล้า (2) ขั้นตอนการปักดำ  ปัจจุบันเกษตรกรนิยม ปักดำน้อยลง เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ดี การปักดำ เป็นวิธีการปลูกข้าวที่สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีกว่านาหว่าน

การปลูกข่า

การปลูกข่า

การเพาะปลูก การปลูกข่า




ข่ามีสองชนิด คือ ข่าหยวกและข่าเหลือง(ที่สวนก็มี) ข่าเป็นพืชกินหัวหรือเหง้าส่วนที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีการเจริญเติบโตออกทางข้างรอบตัวของแม่หรือหัวที่ใช้ปลูกครั้งแรก ที่หัวแม่นี้จะมีข้อและที่ข้อจะมีตา และที่ตานี่เองจะงอกเป็นหน่อโผล่พ้นดินขึ้นมา จากนั้นก็จะแตกหัวแขนงออกมาอีก จากหลายๆหน่อที่ปลูกก็จะแตกออกกลายเป็นกอใหญ่ที่มีหัวหรือเหง้าจำนวนมาก
ธรรมชาติ ของพืชหัวหรือเหง้า จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุมากที่ความลึกประมาณ 15-30 ซม. มีความชื้น 50-80 เปอร์เซ็นต์สม่ำเสมอ และต้องการแสงแดด 100% สำหรับในช่วงอากาศหนาวเย็นการเจริญเติบโตจะช้าลง

การเตรียมดิน

- ควรไถเปิดหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 ซม. พร้อมกับใส่อินทรียวัตถุ แกลบดิบ เศษหญ้า เศษฟาง เศษใบไม้ ฯลฯ แล้วทำการไถย่อยให้ดินและอินทรียวัตถุเข้ากัน เพราะข่าชอบดินร่วนปนทราย เมื่อเวลาทำการย่อยสลายจะเป็นธาตุอาหารและอุ้มความชื้นได้ดี
- ต้องเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง หากทำเป็นแปลง ให้ยกแปลงเป็นหลังเต่าป้องกันน้ำขัง ขนาดกว้าง ยาวตามความเหมาะสม
-ใช้ฟางหรือเศษวัชพืชแห้งคลุมหน้าดิน แล้วรดด้วยน้ำจุลินทรีย์ เพื่อเป็นการบ่มดิน

การเตรียมกล้าพันธุ์
วิธีที่ 1
- ใช้หัวหรือแง่งแก่จัด จะให้ผลดีกว่าหัวหรือแง่งอ่อน โดยตัดเป็นท่อนยาว 3-4 นิ้ว มี ข้อ+ตา 4-5 ตา ตัดก้านใบหรือต้นให้เหลือ 5-6 นิ้ว หรือจะตัดออกหมดเลยก็ได้ แต่ถ้ามีหน่อใหม่ติดมา ที่เพิ่งโผล่พ้นดินก็ให้เก็บไว้ สามารถนำไปปลูกต่อได้
- ล้างหัวพันธุ์ให้สะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา ระวังอย่าให้รากช้ำ เพราะรากสามารถเจริญเติบโตได้ แผลที่เป็นรอยตัด ให้เอาปูนแดงกินหมากทาทุกแผล จากนั้นให้นำไปผึงลมในร่มปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จึงนำไปปลูก

วิธีที่ 2
-ใช้หัวหรือแง่งแก่จัดทีซื้อมาจากตลาดใน สภาพที่ยังสด มีตาตามข้อเห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องมีราก ตัดแต่งรอยช้ำ หรือเน่าที่หัวออกให้หมด แล้วนำไปแช่น้ำยากันรา จากนั้นนำขึ้นมาผึงลมในร่มให้แห้งแล้วทาแผลด้วยปูนแดงกินกับหมาก
- นำหัวพันธุ์ที่ได้มาห่มความชื้น โดยการห่อด้วยผ้าชื้นน้ำหนาๆ นำไปเก็บไว้ในร่ม...หรือ ห่มกระบะโดยมีฟางรองพื้นหนาๆ วางท่อนพันธุ์แล้วกลบด้วยฟางหนาๆอีกชั้น รดน้ำให้ชุ่มเก็บในที่ร่ม...หรือ จะนำลงเพาะชำในขี้เถ้าแกลบก็ได้ โดยใช้เวลาการห่มความชื้น 10-20 วัน รอให้รากงอกและแทงยอดใหม่ออกมา จึงนำไปปลูกต่อไป

การปลูก
-ขุด หลุมกว้างประมาณ 30 ซม. ลึก 10 ซม. นำดินที่ขุดขึ้นมาคลุกกับเมล็ดสะเดา หรือใบสะเดาแห้ง สัก 1-2 กำมือ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่หมักดีแล้วสัก 1 กระป่องนม ผสมดินปลูก พร้อมกับปรับหลุมให้เรียบ
- จากนั้นวางท่อนพันธุ์แบบนอนทางยาว โดยให้ส่วนตาชี้ขึ้นด้านบน จัดรากให้ชี้กางออกรอบทิศทาง ใส่หลุมละ 1-2 หัว ห่างกัน 1-2 ฝ่ามือ แล้วกลบดินโดยทำเป็นโคกสูงขึ้นมาเล็กน้อยๆ ไม่ต้องกดดินให้แน่น แล้วคลุมหน้าดินด้วยฟางหรือเศษหญ้าแห้งใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นหน้าดิน
-ระยะการปลูก ควรจัดระยะระหว่างหลุม .80-1.00 ม. ระหว่างแถว 1.00-1.20 ม.
-หลังจากที่ปลูกเสร็จแล้วให้รดน้ำตามทันที

การปฏิบัติและบำรุง
-หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 15-20 วัน รากจะเริ่มเดิน ในช่วงนี้ควรให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง และให้น้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเอง 7-10 วันครั้ง
-ให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก ทุก 1-2 เดือน/ครั้ง แล้วรดด้วนน้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเองตามทันที
-ถ้า มีหน่อใหม่แทงขึ้นมา ซึ่งในช่วงแรกจะมีสีแดง บางรายอาจจะขุดขึ้นมารับประทานหรือนำไปขายเป็นข่าอ่อน แต่ถ้าต้องการเก็บไว้เพื่อเอาหัวหรือแง่ง ก็ให้นำเศษฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุม เพื่อป้องกันแสงแดด แล้วปล่อยไว้ให้กลายเป็นสีเขียวเพื่อพัฒนาเป็นต้นใหญ่ต่อไป
-การที่เอา เศษวัชพืช เศษหญ้า เศษฟางมาคลุมหน้าดินบริเวณโคนกอข่า เป็นการรักษาความชื้นหน้าดิน ซึ่งข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นหน้าดิน แต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดีด้วย การเจริญเติบโตจึงจะสมบูรณ์และงาม
-การ ที่เราจะรู้ว่าข่ามีการเจริญเติบโตดีหรือไม่ ให้สังเกตดูว่า ข่าจะมีการแตกหน่อใหม่ออกมาอย่างสม่ำเสมอ ก้านใบอวบอ้วนใหญ่ ใบหนาเขียวเข้ม[/color]การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ข่าอ่อน ให้ขุดเมื่อเริ่มออกดอกชุดแรก โดยการเปิดหน้าดินโคนต้นบริเวณที่จะเอาหน่อ แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนที่ต้องการ
ข่า แก่ ให้ขุดเมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2 หรือมีหน่อเกิดใหม่ 5-6 หน่อ เมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2-3 ก็จะได้หน่อหรือแง่งที่แก่ขึ้นไปอีก ทั้งขนาดและปริมาณก็มากขึ้นไปด้วย
-การขุดขึ้นมาแต่ละครั้ง ไม่ควรขึ้นขึ้นมาหมดทั้งกอ ให้เหลือไว้ 3-4 แง่ง เพื่อเป็นต้นพันธุ์ ซึ่งทำให้การปลูกข่าเพียงครั้งเดียว ก็สามารถอยู่ได้เป็นสิบปี
-หลังจากที่ขุดเอาหัว แง่งไปแล้ว ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินทุกครั้ง เพื่อความสมบูรณ์และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน
-หลัง จากขุดเอาหัวหรือแง่งขึ้นมาแล้ว ต้องทำความสะอาดล้างเอาเศษดินที่ติดมาออกให้หมด แล้วตัดแต่งให้เรียบร้อย จากนั้นให้นำไปแช่ลงในน้ำสารส้ม ซึ่งจะช่วยให้หัวข่าขาวสะอาด และเป็นการรักษาให้ข่าแลดูสดได้นานวัน
นอกจากนี้ การปลูกข่าแซมในสวนไม้ผล กลิ่นของใบข่าจะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ ส่วนหัวหรือแง่งก็ยังป้องกันแมลงศัตรูพืชใต้ดินได้อีกด้วย นอกจากนั้น ข่ายังทำให้สภาพอากาศโดยรอบเย็นสบาย มีสภาพร่มเย็น

ข้อมูล นินจาขาเป๋ แห่งบ้านตะเกียง

ประโยชน์ของ การปลูกข่า

ประโยชน์ทางยา
เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน สรรพคุณขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน
ประโยชน์ทางอาหารการ ปรุงอาหาร คนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก ใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริก เหง้าอ่อนสด ยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย เช่น ต้มข่าไก่ ตำเมี่ยงข่าไก่ หรือตำเมี่ยงข่า เป็นต้น
ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายเหง้า อ่อนมีรสเผ็ด มีสรรพคุณเป็นยา ขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนไซ้ท้อง ดอกอ่อนก็มี รสเผ็ดกฃเช่นเดียวกัน เหง้าอ่อน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 20 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม


การทำนาข้าว

    พันธุ์และช่วงเวลาปลูกข้าว พันธุ์ข้าวมี 2 ชนิด คือ 1.      ชนิดไม่ไวแสง  สามารถเพาะปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง  มีอายุเก็บเกี่ยว 110 – 130 วัน ส่วนมากให้ผลผลิตต่อไร่ 100 ถัง เนื่องจากตอบสนองต่อปุ๋ยดี ตัวอย่าง เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี1, สุพรรณบุรี2, ชัยนาท 1, กข. 23 ,เจ้าหอมคลองหลวง1 , และเจ้าหอมสุพรรณบุรี ช่วงเวลาปลูกทำได้ตลอดปีขึ้นอยู่กับสภาพน้ำ แนะนำให้เขตชลประทานโดยวิธีการปักดำ   หรือหว่านข้าวตมอย่างไรก็ดี ไม่แนะ นำให้ปลูกติดต่อกันตลอดปีเป็นเวลานาน ควรปลูกคั่นด้วยพืชหมุนเวียนบ้างในบางฤดู จะช่วยตัดวงจรศัตรูพืชและรักษาสภาพดินที่ ใช้เพาะปลูกข้าว ให้คงความสมบูรณ์ 2.      ชนิดไวแสง  ปลูกได้เฉพาะนาปี มีวันเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างแน่นอน ไม่ว่าจะปลูกเมื่อใด ส่วนมากให้ผลผลิตไม่สูงมากเพราะ ตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ ตัวอย่าง  เช่น  พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 , กข.15 , ขาวตาแห้ง 17 , เหลืองประทิว 123 , และปิ่นแก้ว 56 ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมประมาณเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม  โดยนับวันเก็บเกี่ยวย้อนขึ้นมาให้ข้าวมีอายุ 92-120 วัน (ถ้าใช้วิธีหว่านอายุข้าวจะสั้นลง)  ทั้งนี้ให้พิจารณาประกอบกับสภาพน้ำ ในเขตนาน้ำฝนอาจใช้วิธีหว่านข้าวแห้ง หรือปักดำ วิธีการปลูกข้าว         การทำนาโดยทั่วไปมี 3 วิธี  คือ  นาหว่าน  นาหยอด และนาดำ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่  เช่นที่สูง ที่ลุ่ม  ที่น้ำลึก  สภาพน้ำ  เช่น  เขตน้ำฝน  เขตชลประทาน  สภาพสังคม  เช่น  มีแรงงานหรือไม่มีแรงงาน  สภาพเศรษฐกิจ   เช่น  มีเงินทุนมากหรือน้อย  มีรายละเอียด  คือ   1.      นาหว่าน  ส่วนมากนิยม เนื่องจากขาดแคลนแรงงานสภาพน้ำจำกัด  ยากแก่การปักดำข้าว  หรือพื้นที่อยู่ในเขตน้ำฝนไม่สามารถ ควบคุมปริมาณน้ำได้  เป็นการปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านลงไปในนาที่เตรียมดินไว้แล้ว มี 2 วิธี คือ (1) หว่านข้าวแห้งหรือหว่าน สำรวย (2) หว่านข้าวตม หรือข้าวงอกหรือหว่านเพาะเลย (1) การหว่านข้าวแห้ง   มักใช้วิธีนี้ในเขตนาน้ำฝนหรือในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำไม่ได้  โดยเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไม่ได้เพาะให้งอกเสียก่อน เรียกอีกอย่าง คือ หว่านสำรวย เป็นการหว่านคอยฝนในสภาพดินแห้ง โดยหว่านหลังจากไถแปร  เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หว่าน ไว้จะได้งอก  บางกรณีเพื่อป้องกันการทำลายของศัตรูข้าว จะมีการคราดกลบเมล็ดหลังการหว่าน  ซึ่งอาจเรียกว่าหว่านคราดกลบ         อีกกรณีหนึ่งเป็นการหว่านในสภาพดินเปียก คือ มีฝนตกเมื่อไถแปรแล้ว ก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามทันทีแล้วคราดกลบ  วิธีนี้เรียกว่า  หว่านหลังขี้ไถ การหว่านข้าวแห้งจะใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 10 – 15 กก. (2)     การหว่านข้าวตม  หรือหว่านข้าวงอก  หรือหว่านเพาะเลย  เป็นการหว่านโดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีการเพาะให้งอกกล่าว คือ แช่น้ำสะอาด  12 – 24 ชั่วโมง แล้วนำไปหุ้ม 30 – 48 ชม.  จนมีรากงอกยาวประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร  ที่เรียกว่า  ตุ่มตา  แล้วหว่านลง ในพื้นที่นาที่เตรียมไว้อย่างดี  คือ  ไถดะ  ไถแปร  และทำเทือกจนราบเรียบ  วิธีนี้บางกรณีในเขตนาน้ำฝนควบคุมน้ำได้ยาก  จำเป็นต้อง หว่านในเทือกที่มีน้ำขัง  แต่ในเขตชลประทาน ควรระบายน้ำให้เทือกนุ่มพอดี  สังเกตจากเมล็ดข้าวที่หว่านจะจมในเทือกประมาณครึ่งหนึ่ง ของเมล็ดแนวนอนเมื่อข้าวงอกแล้วค่อยๆระบายน้ำเข้านา  แต่ไม่ให้ท่วมยอดต้นข้าว การหว่านน้ำตม ถ้าเตรียมดินดีวัชพืชน้อยใช้อัตราเมล็ด พันธุ์ไร่ละ  10-15 กก. แต่ถ้าเตรียมดินไม่ดี มีวัชพืชมากในอัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ  15 – 20 กก. 2.      นาหยอด  นิยมในสภาพพื้นที่สูง  พื้นที่ไร่  หรือในสภาพนาที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ใช้เมล็ดข้าวแห้งที่ไม่ได้เพาะให้งอก  หยอดลง ไปในหลุมที่เตรียมไว้โดยใช้จอบเสียม  หรือใช้ไม้กระทุ้ง  ตลอดจนใช้เครื่องหยอด หรืออีกวิธี โดยการโรยเป็นแถว  ในร่องที่ทำเตรียมไว้ แล้วกลบดินฝังเมล็ดข้าว เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หยอดจะงอก ในสภาพไร่หรือที่สูง  อาจทำเป็นหลุมลึก 4-5 เซนติเมตร  หยอดเมล็ดข้าว หลุมละ 5-6 เมล็ด  ส่วนในที่ราบสูง  เช่น  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถทำร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร  นาหยอดจะใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร ่ประมาณ 8-10 กก. 3.      นาดำ  เป็นวิธีการปลูกข้าว โดยแบ่งการปลูกเป็น 2 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นตอนการตกกล้า (2) ขั้นตอนการปักดำ  ปัจจุบันเกษตรกรนิยม ปักดำน้อยลง เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ดี การปักดำ เป็นวิธีการปลูกข้าวที่สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีกว่านาหว่าน

การปลูกผักกาดขาว




การปลูกผักกาดขาว

การเพาะปลูก การปลูกผักกาดขาว

ผักกาดขาว นับเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคอย่างแพร่หลาย ส่วนที่ใช้บริโภคคือ ส่วนของใบ ซึ่งมีลักษณะเป็นผืนเดียวกันตลอด มีก้านใบกว้างและแบน ผักกาดขาวนอกจากจะใช้บริโภคสด และประกอบอาหารได้หลายอย่างแล้วยังเป็นผักที่นำมาใช้แปรรูปเป็นผักตากแห้ง และกิมจิ ตลอดจนเป็นผักที่ใช้ในอุตสาหกรรมรูปอื่นๆ อีก


พันธุ์ผักกาดขาวจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะรูปร่างของปลี สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยแบ่งได้ 3 พวกใหญ่ๆ ตามลักษณะของปลี
1. พวกปลียาว ปลีมีลักษณะทรงสูง รูปไข่ ได้แก่ พันธุ์มิชิลีหรือผักกาดหางหงส์, ผักกาดโสภณ, ผักกาดขาวปลีฝรั่ง เป็นต้น
2. พวกปลีกลม ปลี มีลักษณะทรงสั้นและอ้วนกลมกว่าพวกปลียาว ได้แก่ พันธุ์ซาลาเดีย ไฮบริด, พันธุ์ทรอปิคคอล ไพรด์ ไฮบริด ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เบา มีอายุสั้น
3. พวกปลีหลวมหรือไม่ห่อปลี ส่วน มากเป็นผักพื้นเมืองของเอเชีย ผักกาดขาวพวกนี้มักไม่ห่อเป็นปลี สามารถปลูกได้แม้อากาศไม่หนาว ฝนตกชุก สำหรับความอร่อยน่ากินและการเก็บรักษาได้นานสู้ผักกาดขาวพวกเข้าปลีไม่ได้ ทำให้ปริมาณในปัจจุบันลดลง ได้แก่ พันธุ์ผักกาดขาวใหญ่ (อายุ 45 วัน) ผักกาดขาวธรรมดา (อายุ 40 วัน) เป็นต้น
พันธุ์ผักกาดขาวที่เกษตรกรนิยมใช้ได้แก่ ตราดอกโบตั๋น ตราช้าง ตราเครื่องบิน ตราเครื่องบินพิเศษ พันธุ์เทียนจินและพันธุ์เทียนจินเบอร์ 23 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทนร้อนได้ปานกลาง


ผักกาดขาวเป็นผักที่มีอายุปีเดียว ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนที่มีการระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรดเป็นด่างๆ (pH) ของดินอยู่ในช่วงพอเหมาะประมาณ 6 - 6.8 ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอเพื่อให้มีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ และควรได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 15 - 22 องศาเซลเซียส


แปลงเพาะกล้า ทำ การไถดินบนแปลง แล้วตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5 - 7 วัน หลังจากนั้นหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน พรวนย่อยดินให้ละเอียดโดยเฉพาะผิวหน้าดิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดผักกาดขาวซึ่งมีขนาดเล็กตกในดินลึกเกินไป เมื่อปลูกโดยวิธีหว่าน
แปลงปลูก ทำ การไถดินหรือขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน แล้วทำการไถพรวนดินอีกครั้ง ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วพร้อมกับคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ถ้าดินเป็นดินทรายควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้มากขึ้น อัตราการใช้ประมาณ 2 ปี๊บต่อตารางเมตรหรือถ้าใช้มูลเป็ด ไก่ หรือสุกร ให้ลดปริมาณการใส่ลงมาเหลือตารางเมตรละ 1 ปี๊บก็พอ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่กรณีที่ดินเป็นดินเปรี้ยวหรือดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 40 กิโลกรัมต่อไร่


ระบบการปลูกผักกาดขาวในประเทศไทยสามารถทำได้ 3 แบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่นำมาปลูกและสภาพพื้นที่
1. แบบหว่านกระจายทั่วแปลง การปลูกแบบนี้ใช้ในกรณีที่ใช้พันธุ์ผสมทั่วๆ ไปมาปลูก เมล็ดพันธุ์มีราคาไม่แพง และโดยเฉพาะในท้องที่ภาคกลางที่ยกแปลงกว้าง มีร่องน้ำ
2. แบบแถวเดียว เหมาะสำหรับการปลูกแบบโรยเป็นแถวหรือย้ายกล้า กรณีใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีราคาแพง ในท้องที่ที่ปลูกผักแบบไร่
3. แบบแถวคู่ เหมาะสำหรับการปลูกแบบหยอดเมล็ดหรือย้ายกล้า กรณีใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีราคาแพง เช่น ในเขตท้องที่ภาคเหนือที่นิยมยกแปลงปลูกแคบ
สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับปลูกผักกาดขาวในประเทศไทยก็คือ ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร และระหว่างต้น 50 เซนติเมตร

การปลูกผักกาดขาวสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ การปลูกลงบนแปลงปลูกโดยตรง และการปลูกโดยการเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายไปปลูกในแปลงปลูก จะเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความสะดวกและความเหมาะสมของปัจจัยของ เกษตรกรเอง เช่น แรงงาน ลักษณะของแปลง และจำนวนเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น
การปลูกลงบนแปลงปลูกโดยตรง การปลูกผักกาดขาวด้วยวิธีนี้มี 2 แบบ คือ
1. แบบหวานโดยตรง โดย การหว่านเมล็ดพันธุ์ให้กระจายทั่วทั้งแปลง ซึ่งการปลูกแบบนี้เหมาะสำหรับกรณีที่เมล็ดพันธุ์มีราคาไม่แพง และโดยเฉพาะในท้องที่ภาคกลางที่ยกแปลงกว้าง มีร่องน้ำ การหว่านควรหว่านให้เมล็ดกระจายสม่ำเสมอ โดยทั่วไปนิยมผสมพวกทรายหรือเมล็ดผักที่เสื่อมคุณภาพแล้วที่มีขนาดพอๆ กันลงไปด้วย เพื่อให้เมล็ดพันธุ์กระจายได้สม่ำเสมอยิ่งขึ้น จากนั้นใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหว่านทับลงไปหนาประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร เพื่อช่วยรักษาความชื้น เสร็จแล้วจึงคลุมด้วยฟางแห้งสะอาดบางๆ อีกชั้นหนึ่งรดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียดให้ทั่วถึงสม่ำเสมอ หลังจากต้นกล้างอกและมีใบจริง 1-2 ใบควรถอนแยกเพื่อจัดระยะปลูกและถอนแยกครั้งสุดท้ายไม่ควรปล่อยให้กล้ามีอายุ เกิน 25-30 วัน โดยจัดระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 50 x 50 เซนติเมตร
2. แบบปลูกเป็นแถวหรือหยอดเป็นหลุม โดย การหยอดเมล็ดให้เป็นแถวบนแปลงปลูก โดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 50 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลึกประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร หรือทำเป็นหลุมตื้นๆ หยอดเมล็ดลงประมาณ 3-5 เมล็ด ใช้ดินกลบให้หนา 1/2 เซนติเมตร ใช้หญ้าแห้งหรือฟางคลุมบางๆ รดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริง 2 ใบให้ ทำการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น ให้ได้ระยะต้นในแต่ละแถวเท่ากับ 50 เซนติเมตร และถอนแยกครั้งสุดท้ายอายุไม่ควรเกิน 30 วัน
การปลูกโดยการเพาะกล้าแล้วย้ายกล้าไปปลูก การปลูกผักกาดขาวด้วยวิธีนี้จะประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้มาก โดยเฉพาะถ้าเป็นการปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีราคาแพง
หลังจากเตรียมดินแปลงเพาะกล้าเรียบร้อยแล้ว ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วพื้นผิวแปลง แล้วใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบให้หนาประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร หรืออาจใช้วิธีหยอดเมล็ดเป็นแถวห่างกันแถวละประมาณ 5-10 เซนติเมตร ลึกลงไปในดินประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร เมล็ดควรโรยให้ห่างกันพอสมควร แล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือดินผสมแล้วรดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด ให้ทั่วแปลง คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้งหรือฟางสะอาดบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินและป้องกันการกระแทกของน้ำต่อเมล็ดและต้น กล้าที่ยังเล็กอยู่
เนื่องจากกล้าผักกาดขาวค่อนข้างอ่อนแอ ดังนั้นควรย้ายชำลงถุงพลาสติกหรือกระทงก่อนเมื่อกล้าอายุประมาณ 20-25 วัน จากนั้นหมั่นดูแลรักษาและป้องกันโรคแมลงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนการย้ายกล้าลงปลูกในแปลงควรทำให้กล้าแข็งแรง โดยการนำต้นกล้าออกตากแดดบ้าง อายุกล้าที่เหมาะสมในการย้ายปลูกคือ 30-35 วัน ไม่ควรใช้กล้าที่มีอายุมากเกินป การย้ายกล้าไปปลูกควรย้ายในช่วงบ่ายๆ ถึงเย็น หรือช่วงที่อาศมืดครึ้ม นำต้นกล้าปลูกในแปลงปลูกที่เตรียมไว้แล้ว โดยใช้ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 50 x 50 เซนติเมตร หลังจากปลูกเสร็จแล้วใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมดินอีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินและผักตั้งตัวได้เร็ว แล้วรดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด
การปลูกด้วยวิธีการเพาะกล้าก่อนนำไปปลูกนี้จะทุ่นค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย และปลูกได้เป็นระเบียบสวยงาม การดูแลและทำงานได้ปราณีตขึ้นทำให้ได้ผลผลิตดีขึ้น ทุ่นเวลาและแรงงานที่จะดูแลรักษาในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าอยู่ แต่ในเวลาย้ายปลูกจะต้องใช้แรงงานมากในการปลูกให้รวดเร็ว


การให้น้ำ ผัก กาดขาวต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตตลอดฤดูปลูก ดังนั้นควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ โดยในระยะแรกเมื่อผักกำลังงอกควรให้น้ำวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อให้หน้าดินอ่อนสะดวกแก่การงอกของเมล็ด เมื่อผักมีอายุเกิน 7 วันไปแล้ว ก็ลดลงเหลือให้วันละ 3 ครั้ง พออายุเกิน 1 เดือนไปแล้วให้น้ำเพียงวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ไม่ควรให้น้ำในเวลาสายๆ ที่แดดจัดเพราะน้ำอาจร้อนทำให้ผักกาดขาว ซึ่งบางเสียหายได้ง่าย การให้น้ำควรใช้บัวรดน้ำหรือฉีดพ่นเป็นฝอยด้วยเครื่อง แต่อย่าให้ฉีดแรงนัก เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อผักได้ การให้น้ำผักกาดขาวระยะที่ควรระวังที่สุดก็คือ ในช่วงที่ผักกาดขาวกำลังห่อปลีไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้การห่อปลีและการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
การใส่ปุ๋ย เนื่อง จากผักกาดขาวเป็นผักกินใบ ดังนั้นควรเลือกใช้ ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตรที่ 2 จึงจะเหมาะสม โดยให้ในอัตราประมาณ 80-150 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้ โดยแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นจำนวนครั้งหนึ่ง โดยใส่ตอนเตรียมดินปลูก และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อผักกาดขาวมีอายุ 20 วัน
สำหรับผักกาดขาวพันธุ์ปลียาวและปลีกลมควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรท ในอัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อกล้าอายุได้ 30-40 วัน โดยการหว่านหรือโรยข้างต้นก็ได้ แล้วรดน้ำตามทันที แต่ระวังอย่าให้ปุ๋ยตกค้างอยู่ที่ใบเพราะจะทำให้ใบไหม้


อายุการเก็บเกี่ยวของผักกาดขาวนั้น ไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะประจำพันธุ์ของแต่ละพันธุ์คือ พันธุ์ที่เข้าปลีหลวมๆ มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 40-50 วัน หลังจากหว่านเมล็ด โดยเลือกเก็บเกี่ยวต้นเริ่มแก่เต็มที่ได้ขนาด สำหรับพันธุ์ปลียาวและปลีกลมมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 50-80 วันหลังจากหว่านเมล็ด โดยเก็บขณะที่ปลีห่อแน่นเต็มที่ก่อนที่ปลีจะเริ่มคลายตัวหลวมออก
วิธีการเก็บเกี่ยวโดยใช้มีดคมๆ ตัดที่โคนต้น แล้วตัดแต่งใบที่เป็นโรคถูกแมลงทำลายออกบ้างพอสมควร แต่ไม่มากนัก ควรเหลือใบนอกๆ ไว้สัก 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกระหว่างการขนส่ง

การปลูกมะเขือม่วง




การปลูกมะเขือม่วง

การเพาะปลูก การปลูกมะเขือม่วง

มะเขือม่วงเป็นพืชดั้งเดิมของอินเดีย ปลูกง่าย การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ถ้าเอาใจใส่ดี
เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ระยะนาน โรคและศัตรูมีน้อย ทนแล้งปลูกได้ตลอดปี ทำเลที่เหมาะอยู่ ในระดับ 500-800 เมตร

การปลูก
- ผักตระกูลนี้ควรมีการเพาะกล้าก่อนย้ายลงปลูกในแปลง
- การเพาะกล้า เตรียมดินในกะบะเพาะหรือในถุงพลาสติก
- หยอดเมล็ดในถุงเพาะ ถุงละ 3-5 เมล็ด ถ้าเพาะในกะบะเพาะ ควรเว้นระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร
- เมื่อเมล็ดงอกแล้วมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกเหลือต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น
- เมื่อกล้ามีใบจริง 5-6 ใบ หรือหลังเพาะกล้าประมาณ 30 วัน ย้ายกล้าลงแปลงปลูก
- เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ หรือเริ่มเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง
- เมื่อต้นเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12
- อายุการเก็บเกี่ยว มะเขือประมาณ 60-75 วัน หลังย้ายกล้า

http://www.doae.go.th

ประโยชน์ของ การปลูกมะเขือม่วง

ลำต้น,ราก-ต้มกินแก้บิด หรือคั้นน้ำล้างแผลเท้าเปื่อย ใบแห้ง-ป่นเป็นผง เป็นยาแก้โรคบิด ปัสสาวะขัด หนองใน ดอกสดหรือแห้ง เผาให้เป็นเถ้า แล้วบดละเอียด แก้ปวดฟัน ผลแห้ง-ทำเป็นยาเม็ด แก้ปวด แก้ตกเลือดในสำไส้ ขับเสมหะ ผลสด-ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีหนอง หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง ผดผื่นคัน



การปลูกฟักทอง

การเพาะปลูก การปลูกฟักทอง


ฟักทอง จัดเป็นผักในตระกูลแตงที่มีการใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานที่สุดชนิดหนึ่ง คาดการณ์ว่ามีการปลูกมานานไม่ต่ำกว่า 10,000 ปี สำหรับการปลูกฟักทองในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง คนไทยนิยมบริโภคฟักทองที่มีขนาดน้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม เปลือกมีสีเขียวคล้ำ ร่องผลเป็นพูสม่ำเสมอหรือเปลือกขรุขระแบบหนังคางคก เนื้อสีเหลืองหนาและเหนียว พันธุ์ฟักทองที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่จะซื้อพันธุ์ลูกผสมที่ มีราคาค่อนข้างแพงให้ผลผลิตสูงแต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเป็นพันธุ์ฟักทองที่ได้จากการผสมปล่อยและได้มีการคัด เลือกพันธุ์จนมีความนิ่งระดับหนึ่งเมื่อปลูกไปแล้วสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ ทำพันธุ์ต่อได้

ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี จากสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้มีการเผยแพร่ วิธีการปลูกฟักทองแบบปลอดภัย เริ่มต้นจากการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ มีการคลุมดินด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว ซากพืชและสัตว์ที่ผุพัง มีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการระบาดของศัตรูพืชและมีการอนุรักษ์แมลงที่ เป็นประโยชน์ การราดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพลงในดินที่ใช้ปลูกฟักทองจะเป็นการเพิ่มปริมาณ จุลินทรีย์ให้แก่ดินบริเวณรากพืช จุลินทรีย์จะใช้อาหารจากปุ๋ยหมักชีวภาพและตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้

ในการเตรียมพื้นที่ปลูกฟักทอง เกษตรกรจะต้องทราบสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ถ้าดินมีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 จะต้องใส่ปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ อัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ และจะต้องใส่ก่อนลงมือปลูกอย่างน้อย 1 อาทิตย์

หลังจากนั้นให้ไถพรวนผสมคลุกเคล้าให้ปูนผสมกับดินและตากดินทิ้งไว้ การไถพรวนตากดินควรให้มีความลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่เกษตรกรผู้ปลูกฟักทองควรคำนึงคือ ต้นฟักทองจะมีการเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิเฉลี่ย 18-27 องศาเซลเซียส จัดเป็นพืชผักที่ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็นจัด พบว่าต้นฟักทองจะชะงักการเจริญเติบโตในสภาพอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส

หลังจากที่เพาะเมล็ดฟักทองในถาดเพาะกล้านานเฉลี่ย 10-13 วัน หรือเมื่อต้นฟักทองมีใบจริง 1-2 ใบจึงทำการย้ายปลูก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมด้วย การรองก้นหลุมด้วยสารสตาร์เกิล จี อัตรา 2 กรัมต่อหลุม

พบว่าในระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้าจนต้นฟักทองมีความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร สารสตาร์เกิล จี จะป้องกันการทำลายของแมลงปากดูดทุกชนิดรวมถึงกำจัดเต่าแตงที่เข้ามาทำลายใบ ฟักทองได้ด้วย ในการปลูกฟักทอง ในเชิงพาณิชย์แนะนำให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระยะระหว่างแถว 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 400 ต้น.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

ประโยชน์ของ การปลูกฟักทอง

ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลง

ประโยชน์ทางยา

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด ราก ขั้ว น้ำมันจากเมล็ด เยื่อกลางผล ยาง

รสและสรรพคุณในตำรายาไทย

เมล็ด รสมัน ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ บำรุงร่างกาย แก้พิษปวดบวม

ราก รสเย็น ต้มน้ำดื่ม บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถอนพิษของฝิ่น ดับพิษสัตว์กัดต่อย

ขั้ว รสเย็น ฝนกับมะนาวผสมใยฝ้ายเผาไฟ รับประทานแก้พิษกิ้งกือกัด

น้ำมันจากเมล็ด รสหวานมัน รับประทานบำรุงประสาท

เยื่อผลกลาง รสหวานเย็น พอก แก้ฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ

ยาง แก้พิษผื่นคัน เริมและงูสวัด

การเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก

   ปลานิล เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบบริเวณลุ่มน้ำไนล์ ในบริเวณแอฟริกาตะวันออก จนถึงบริเวณลุ่มน้ำไนล์ตะวันตก บริเวณลุ่มน้ำเซเนกัลและไนเจอร์
  ปลานิล เป็นพี่น้องร่วมตระกูลกับปลาหมอเทศที่เรารู้จักกันดีคือ ตระกูล Tilapia ด้วยเหตุนี้ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลานิลจึงมีชื่อว่า Tilapia niloticus ซึ่งบ่งบอกถึงลุ่มน้ำไนล์อันเป็นถิ่นกำเนิดอยู่ด้วย แต่ต่อมาด้วยเหตุผลทางด้านวิชาการบางประการ ปลานิลจึงมีชื่อใหม่เป็น Oreocromis niloticus แต่ก็ยังมีชื่อของลุ่มน้ำไนล์ติดอยู่เหมือนเดิม
   ปลานิล เป็นปลาที่มีศักยภาพในด้านการเพาะเลี้ยงอยู่สูงมาก คือมีเนื้ออร่อยกว่าปลาน้ำจืดชนิดอื่นหลายชนิด สามารถกินอาหารธรรมชาติได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ มีความสามารถสูงในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี คือ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิน้ำ 10-40 องศาเซลเซียส และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพที่ถูกกักขังในที่แคบ เช่น บ่อเลี้ยงหรือกระชังได้ และสามารถเจริญเติบโตได้ดีเหมือนในธรรมชาติ
   ด้วย คุณสมบัติดังกล่าว ปลานิล จึงถูกนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อและกระชังในหลายประเทศเกือบทั่วโลก ยกเว้นประเทศที่มีอุณหภูมิหนาวจัดเท่านั้น เพราะปลานิลสามารถเข้ามาทดแทนความขาดแคลนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในบางประเทศที่ แห้งแล้งทุรกันดารได้เป็นอย่างดี จนได้ชื่อว่า “Aquatic Chicken” ปลานิล จึงกลายเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงในเกือบทุกประเทศ และเป็นปลาที่มีการเพาะเลี้ยงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยและของโลกด้วย

ปลานิลถูกนำเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นครั้ง แรกโดยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิอากิฮิโต แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ทรงจัดส่งปลานิลมาทูลฯถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 จำนวน 50 ตัว ในระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ในบริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา พระราชวังสวนดุสิต ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเลี้ยงในบ่อดิน และได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ขุดบ่อดินเพิ่มขึ้นเพื่อขยายพันธุ์ปลานิลให้มากขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมประมงมาคอยตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน

เมื่อ เลี้ยงปลานิลและขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นทุกทีจนครบ 1 ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลูกปลานิล ขนาดความยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้กรมประมงไปเลี้ยงและขยายพันธุ์เพิ่มต่อไป และได้ทรงประทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิล” ซึ่งคำว่า “นิล” นั้น นอกจากจะมีความหมายว่าเป็นอัญมณีที่มีค่าแล้ว ยังบ่งบอกถึงถิ่นกำเนิดของปลาชนิดนี้คือ แม่น้ำไนล์ (Nile) อีกด้วย

บทบาทด้านเศรษฐกิจของปลานิลในประเทศไทย

เมื่อ กรมประมงได้รับพระราชทานปลานิลมาแล้ว ก็ได้เร่งขยายพันธุ์ปลานิลตามสถานีประมงต่างๆ ทั่วประเทศอีก 15 แห่ง เพื่อขยายพันธุ์ไว้แจกจ่ายเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2510 เป็นต้นมา นับจำนวนได้หลายล้านตัว

ส่วนปลานิลที่คงเหลืออยู่ในบ่อวัง สวนจิตรลดา พระองค์ได้ทรงใช้ในการผลิตพันธุ์ปลานิลต่อมาโดยตลอด จนได้ปลานิลสายพันธุ์แท้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกและพากันเรียกว่า “ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา” (Chitrada Strain) ซึ่งนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อวงการเพาะเลี้ยงปลานิลทั่วโลก

นับ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การเพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีโดยไม่หยุดยั้ง ทั้งนี้เพราะปลานิลเป็นปลาที่คนไทยนิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนปลาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้น ในช่วงแรกของการเพาะเลี้ยงปลานิลจนถึงช่วงกลางคือ พ.ศ. 2535 การบริโภคภายในประเทศจึงเป็นตลาดสำคัญของการเพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทย หลังจากนั้นการส่งออกปลานิลจึงเริ่มเกิดขึ้นและเติบโตในอัตราที่ค่อนข้างสูง มาโดยตลอด

ในขณะที่การเพาะเลี้ยงปลานิลมีการเติบโตในอัตรา ที่ค่อนข้างสูงโดยตลอด กรมประมงจึงต้องเตรียมการรองรับการขยายตัวดังกล่าวด้วยการปรับปรุงพันธุ์ปลา นิลให้มีรูปร่างและคุณสมบัติด้านต่างๆ ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่ชื่อว่า “จิตรลดา 3″ ในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งมีลักษณะเด่นประจำสายพันธุ์ คือ

1. เพศ เป็นเพศผู้และเพศเมีย

2. รูปร่าง ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สันหนา

3. ผลผลิต ให้เนื้อสูงกว่าปลานิลพันธุ์ปกติ ร้อยละ 40

4. อัตรารอด สูงกว่าปลานิลพันธุ์ปกติ ร้อยละ 24

ใน ปัจจุบันนี้ ปลานิลพันธุ์จิตรลดา 3 นี่เองที่เป็นปลาพื้นฐานของการเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อส่งออก โดยนำลูกปลาจิตรลดา 3 มาแปลงเพศด้วยการให้กินฮอร์โมนตั้งแต่ถุงไข่แดงเริ่มยุบ จนกระทั่งลูกปลานิลมีอายุ 3-4 สัปดาห์ เพื่อแปลงเพศเมียให้เป็นเพศผู้ทั้งหมด เพราะปลานิลเป็นปลาที่เพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าและโตเร็วกว่าเพศเมีย รวมทั้งป้องกันการผสมพันธุ์ไม่ให้เกิดลูกปลานิลแน่นบ่ออีกด้วย

การเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก

การเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออกนั้น ต้องใช้วิธีการเลี้ยงอย่างถูกต้องเหมาะสมทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ปลานิลที่มีขนาดและรูปร่าง ตลอดจนคุณภาพของเนื้อและซากที่ดีตามข้อกำหนดของผู้ส่งออก ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้

1. แบบของโกรเบสมารีน (บริษัท)

การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน

มีการเลี้ยงแล้วย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่อีก 2 ครั้งคือ ครั้งแรกเมื่อเตรียมบ่อดิน ตากบ่อให้แห้งอย่างน้อย 3 วัน แล้วใส่ปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อโรค และปรับคุณภาพน้ำแล้วสูบน้ำเข้าบ่อโดยผ่านการกรองน้ำ เพื่อป้องกันศัตรูทางธรรมชาติอย่างรอบคอบแล้วปล่อยลูกปลานิลแปลงเพศ ขนาดเท่าใบมะขาม ลงเลี้ยงในบ่อ ประมาณ 20,000 ตัว ต่อไร่ ใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนสูง 40% ในอัตราประมาณ 20% ของน้ำหนักปลา วันละ 5 มื้อ

เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 45 วัน ลูกปลามีน้ำหนักตัวละ 15-20 กรัม ก็ย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่ที่เตรียมไว้อย่างดีแล้ว ในอัตรา 15,000 ตัว ต่อไร่ โดยเรียกว่า การเลี้ยงปลานิลรุ่น โดยให้อาหารที่มีโปรตีนน้อยลง คือประมาณ 32% โดยให้อาหาร 3-5% ของน้ำหนักตัวปลา เมื่อเลี้ยงไปได้ 60-75 วัน จะได้ลูกปลาขนาดน้ำหนักตัว ประมาณ 100 กรัม ก็จะย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่ ในอัตรา 4,000-5,000 ตัว ต่อไร่ เรียกว่าการเลี้ยงปลาใหญ่ ให้อาหารที่มีระดับโปรตีน ประมาณ 28% ในอัตรา 2-3% ของน้ำหนักตัวต่อวัน

ซึ่งการเลี้ยงในบ่อนี้ ควรมีกังหันตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในตอนกลางคืนด้วย เลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 5-6 เดือน จะได้ปลานิลขนาดน้ำหนัก 800-1,000 กรัม ก็จับขายได้

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง จำเป็นต้องคัดเลือกแหล่งน้ำที่จะใช้ลอยกระชังให้เหมาะสม ดังนี้

1. เป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำเพียงพอตลอดปีจะเป็นแหล่งน้ำเปิด คือ แม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำปิด เช่น อ่างเก็บน้ำก็ได้

2. มีความลึกได้น้อยกว่า 4 เมตร เพื่อให้สามารถลอยกระชัง ให้ก้นกระชังอยู่สูงกว่าก้นคลองได้ไม่น้อยกว่า 1 เมตร เพื่อให้กระแสน้ำไหลผ่านได้สะดวก

3. เป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำค่อนข้างใส และมี pH ประมาณ 6.5-8.0 และค่าออกซิเจนในน้ำมีไม่น้อยกว่า 5 ppm.

4. ควรเป็นบริเวณโล่งแจ้ง มีวัชพืชในน้ำน้อยหรือไม่มีเลย

5. ไม่ขัดต่อกฎหมายกรมประมง

6. การคมนาคมสะดวก

7. ห่างไกลจากแหล่งน้ำเสียและชุมชนแออัด

รูปแบบกระชังปลานิลที่นิยมในปัจจุบัน

กระชังไม้

ไม่ ว่าจะเป็นไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็ง ส่วนใหญ่จะใช้ในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลไม่แรงนัก ขนาดที่นิยมใช้ ได้แก่ 3×3×2 เมตร และ 4×6×3 เมตร

ข้อดี คือ ต้นทุนต่ำ

ข้อเสีย คือ อายุการใช้งานสั้น ประมาณ 2-5 ปี

กระชังเหล็ก

นิยมใช้กันในแหล่งน้ำปิด หรือแหล่งน้ำเปิดที่มีกระแสไหลเชี่ยว ขนาดที่นิยมคือ 3×3×1.5 เมตร และ 4×6×2 เมตร

ข้อดี คือ อายุการใช้งานยาว

ข้อเสีย คือ ต้นทุนสร้างกระชังสูง

วิธีเลี้ยงปลานิลในกระชัง

ปล่อยลูกปลาแปลงเพศ ขนาดตั้งแต่ น้ำหนัก 30-40 กรัม ต่อตัว ในอัตราเฉลี่ยประมาณ 100 ตัว ต่อ 1 ตารางเมตร

อาหารและการให้อาหารปลานิล

ใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนประมาณ 28-30% เลี้ยงวันละ 3 มื้อ ในสัดส่วนประมาณ 5-6% ของน้ำหนักปลา หรือคอยสังเกตการกินอาหารของปลาในขณะให้อาหาร ถ้าหว่านอาหารลงไปแล้วปลาสามารถกินได้หมดภายใน 5-8 นาที ก็หยุดให้ เมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 45 วัน จึงปรับอาหารให้มีโปรตีนต่ำลง ให้วันละ 3 มื้อ ประมาณ 3-5% ของน้ำหนักตัวไปอีก 1 เดือน จึงปรับเปลี่ยนอาหารที่มีระดับโปรตีนต่ำลงอีก 2-3% โดยให้วันละ 2-4 มื้อ เรื่อยไปจนปลาได้ขนาด 800-1,000 กรัม จึงจับขาย

ต้นทุนการเลี้ยงปลานิล

1. ค่ากระชังพร้อมแพ 5,500-6,000 บาท

(คิดค่าเสื่อมราคาต่อรอบการเลี้ยง 600 บาท)

2. ค่าพันธุ์ปลา 1,000 ตัวx3 บาท 3,600 บาท

3. ค่าอาหาร 26,600-30,400 บาท

4. อื่นๆ ประมาณ 1,000 บาท

รวมต้นทุนการเลี้ยงต่อรอบ 31,800-35,600 บาท

รวมต้นทุนตั้งแต่เริ่มเลี้ยง 36,700-41,500 บาท

ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ปลา 1,000 กิโลกรัมx38 บาท ต่อกระชัง 38,000 บาท

หักต้นทุน 31,800-35,600 บาท กำไร 6,250-2,400 บาท

2. การเลี้ยงแบบเกษตรกร

แบบของคุณกบ แห่งดอนตูม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

คุณ กบ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ได้เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวมา 2-3 ปีแล้ว ในฟาร์มที่มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ในระยะแรก การเลี้ยงได้ผลดีมาก ได้ผลผลิตกุ้งขาวไร่ละประมาณ 5 ตัน ต่อไร่ แต่เมื่อเลี้ยงซ้ำๆ หลายรอบ ผลผลิตกุ้งก็ลดลงเรื่อยมาเป็นลำดับ จึงได้ปรับปรุงบ่อเลี้ยง โดยลอกบ่อให้ลึกมากขึ้นอีก จากความลึก 2.5 เมตร เป็นลึก 3-4 เมตร แล้วลองเลี้ยงดูใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่กลางฤดูหนาวที่เพิ่งผ่านมา

วิธีการเลี้ยงปลานิล

1. เตรียมบ่อเลี้ยง ขนาดเนื้อที่ 25 ไร่ ตากบ่อไว้ประมาณ 5-7 วัน ให้แห้งสนิท โรยปูนขาว ประมาณ 40 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วนำน้ำล้างคอกไก่มาใส่เพื่อเป็นปุ๋ยสำหรับสร้างอาหารตามธรรมชาติ ซึ่งจุดนี้ผมพยายามให้ข้อคิดกับคุณกบว่า การใส่ปุ๋ยคอกโดยไม่มีหลักเกณฑ์ว่าจะต้องใส่ในปริมาณเท่าไร มากน้อยอย่างไร บางทีมันก็เหมือนดาบสองคม ถ้าใส่มากเกินไปอาจจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ และผลที่ตามมาก็คือลูกกุ้งจะเจ็บป่วยล้มตายลง โดยที่เจ้าของบ่ออาจไม่เฉลียวใจว่าเป็นเพราะปุ๋ยคอกที่ใส่มากเกินไป ก็มัวแต่ไปโทษว่าเป็นเพราะเกิดโรคระบาดขึ้น กุ้งจึงล้มตายลง ตามกระบวนการ ดังนี้ ใส่ปุ๋ยคอก น้ำเสีย กุ้งตายหรือใส่ปุ๋ยคอก น้ำเสีย เกิดโรค กุ้งตาย

ข้อเสียหรือจุดอันตรายอีกประการหนึ่งของการใส่ปุ๋ยคอกก็คือ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปมักมียาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าเชื้อโรคที่เจ้าของฟาร์มไก่หรือหมู มักใช้ทำความสะอาดคอกอยู่เป็นประจำ ก็อาจสร้างความเสียหายให้แก่กุ้งหรือปลาที่เราเลี้ยงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ผมจึงไม่แนะนำให้ใส่ปุ๋ยคอกลงในบ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ที่ใช้เวลานานหลายๆ เดือน เพราะลำพังของเสีย เศษอาหารที่เหลือ และซากแพลงตอนที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงนั้น ก็มากเกินพอที่จะทำให้เกิดการเน่าเสียของน้ำในบ่อได้อยู่แล้ว ถ้าเราเพิ่มปุ๋ยคอกเข้าไปอีก แล้วน้ำจะไม่เน่าเสียได้อย่างไร

2. เมื่อเติมน้ำและตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำเสร็จแล้ว จึงนำลูกกุ้งขาววัยอ่อนมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ 25 ไร่ จำนวน 500,000 ตัว หรือประมาณ 20,000 ตัว ต่อไร่

3. เมื่อปล่อยลูกกุ้งลงบ่อแล้วประมาณ 10 วันขึ้นไป จึงปล่อยลูกปลานิลที่แปลงเพศแล้วขนาดเท่าใบมะขาม จำนวน 2,000-3,000 ตัว ต่อไร่ ตามลงไป ก่อนปล่อยควรตรวจสอบลูกกุ้งที่ปล่อยไว้ว่ามีขนาดโตพอที่จะไม่ถูกปลานิลกิน ได้แล้วเสียก่อน มิฉะนั้น ลูกปลานิลจะกินลูกกุ้งเสียจนเกือบหมด

4. กางกระชัง ขนาด 7.0×15.0×2.50 เมตร ในบ่อ จำนวน 60 กระชัง หรือประมาณ 2 กระชัง ต่อเนื้อที่บ่อ 1 ไร่ ปล่อยปลานิลแปลงเพศ ขนาด 4 ตัว ต่อกิโลกรัม ลงเลี้ยงในกระชังประมาณ 1,500 ตัว ต่อกระชัง

5. การให้อาหาร ให้อาหารเฉพาะปลานิลที่เลี้ยงในกระชังเท่านั้น ส่วนกุ้งและปลานิลที่เลี้ยงนอกกระชังไม่ต้องให้อาหาร อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลานิลใหญ่ที่ระดับโปรตีน ประมาณ 28% วันละ 2-3 มื้อ รวมประมาณ 2-3% ของน้ำหนักปลาในกระชัง

6. ปลานิลที่เลี้ยงในกระชัง ใช้เวลาประมาณ 60-70 วัน ปลาจะโตได้ขนาดตัวละ 600-700 กรัม (6-7 ขีด) ถ้าขายให้ผู้ค้าในท้องถิ่นนั้นจะได้กิโลกรัมละ ประมาณ 50 บาท แต่ถ้าขายให้ผู้รวบรวมปลาส่งห้องเย็นจะขายได้ราคาถูกกว่า และได้เงินล่าช้ากว่าผู้ค้าในท้องถิ่น ประมาณ 30 วัน

ส่วนกุ้งขาว และปลานิลนอกกระชังก็เลี้ยงต่อไป จนได้อายุประมาณ 7-8 เดือน จึงจับขึ้นขาย กุ้งขาวขนาด 30-40 ตัว ต่อกิโลกรัม ขายได้ 200 บาท ต่อกิโลกรัม

7. ผลประกอบการ คุณกบไม่ได้แจ้งว่ามีกำไร หรือขาดทุนเท่าไร บอกแต่เพียงว่า ปัจจุบันกำไรไม่ดีเหมือนเมื่อ 2-3 ปี ที่ผ่านมา

8. ปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยง ปลานิลเริ่มเป็นโรคอันเกิดเชื้อบัคเตรี ที่ชื่อ Streptococcus sp. ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนไม่เคยเกิดโรคนี้

แบบคุณบุญลือ แห่งดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

เกษตรกร รายนี้เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งก้ามกราม ขนาดเนื้อที่ฟาร์ม 30 ไร่ แบ่งเลี้ยงเป็น 7 บ่อ และเลี้ยงปีละ 2 รอบ โดยหยุดเลี้ยงในช่วงฤดูหนาว เริ่มเลี้ยงแบบนี้มาได้ 2-3 ปีแล้ว บ่อที่เลี้ยงมีความลึกเพียง 1.5 เมตร เท่านั้น ดังนั้น ในช่วงหน้าร้อนจึงต้องตีน้ำช่วยตลอดเวลา ผิดกับการเลี้ยงของคุณกบที่ใช้บ่อลึกถึง 3-4 เมตร และเลี้ยงได้ตลอดปี ไม่ต้องตีน้ำช่วย

วิธีการเลี้ยงปลานิล

1. เตรียมบ่อ ตากบ่อให้แห้ง ใส่ปูนขาว แต่ไม่ใส่ปุ๋ยคอก แล้วกางกระชังโดยใช้วิธีปักหลัก 4 มุม กับพื้นบ่อ ใช้กระชัง ขนาด 7×15×1.5 เมตร ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับของคุณกบ แต่มีความลึกของกระชังน้อยกว่าคุณกบ 1 เมตร ในอัตราส่วน 1-2 กระชัง ต่อเนื้อที่บ่อ 3 ไร่

2. เติมน้ำลงบ่อให้ได้ระดับที่ต้องการ ปรับสภาพน้ำให้เหมาะสม ตีน้ำไว้ล่วงหน้า 2-3 วัน

3. ปล่อยปลานิลดำแปลงเพศ ขนาด 4 ตัว ต่อกิโลกรัม ลงเลี้ยงในกระชัง กระชังละ 1,100-1,200 ตัว

4. ปล่อยกุ้งก้ามกรามไม่แยกเพศ ขนาด 200 ตัว ต่อกิโลกรัม ลงภายในบ่อ (นอกกระชัง) ในอัตราไร่ละ 10,000 ตัว

5. ปลานิลในกระชัง เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีนสูง ประมาณ 30-35% ที่ใช้เลี้ยงปลาทับทิม แต่ถ้าให้อาหารสำหรับเลี้ยงปลานิลดำ ปลาจะโตช้ามาก เมื่อเลี้ยงไปครบ 80-90 วัน ปลานิลจะโตได้ขนาดตัวละ 900-1,100 กรัม ก็จับขึ้นมาขายได้

ราคาขายปลานิล ขนาด 600 กรัม ขึ้นไป กิโลกรัมละ 55 บาท ขนาดเล็กกว่านี้ได้กิโลกรัมละ 35 บาท

6. ส่วนกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงไว้อยู่นอกกระชัง คุณบุญลือจะให้อาหารทุกวัน โดยใช้อาหารกุ้งของ CP สลับกับอาหารที่ปรุงขึ้นเอง จนครบ 6 เดือน ถ้าสังเกตเห็นว่ากุ้งตัวเมียเริ่มมีไข่ติดหน้าท้อง ก็จะจับกุ้งเพศเมียขึ้นมาขายก่อน ซึ่งจะมีขนาด 40 ตัว ต่อกิโลกรัม ขายได้ราคากิโลกรัมละ 80-100 บาท ส่วนกุ้งตัวผู้จะเลี้ยงต่ออีก 1 เดือน จึงจับขึ้นขาย จะได้กุ้งขนาด 12-13 ตัว ต่อกิโลกรัม ราคา 180 บาท ต่อกิโลกรัม ถ้าเลี้ยงต่อไปอีก 1 เดือน จะได้กุ้งขนาด 10-11 ตัว ต่อกิโลกรัม ราคาจะดีขึ้นถึง 200 บาท ต่อกิโลกรัม

7. ผลประกอบการ มีกำไรเกือบทุกปี โดยแยกออกเป็น

ผลกำไรจากปลานิล ปีละประมาณ 70,000-80,000 บาท

ผลกำไรจากกุ้งก้ามกราม ปีละประมาณ 200,000-300,000 บาท

3. การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาบึก ตามแบบ คุณสมบูรณ์ กวีวิวัฒน์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

คุณ สมบูรณ์ เล่าให้ฟังว่า ตนเริ่มศึกษาทดลองการเลี้ยงปลามาสิบกว่าปีแล้ว ควบคู่ไปกับการทำโรงงานผลิตเส้นขนมจีนขาย ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลัก ปลาที่เลี้ยงมีหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียน ปลายี่สกเทศ ปลาดุก ปลาหมอไทย และปลานิล ต่อมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว จึงได้เริ่มทดลองเลี้ยงปลาบึกดูบ้าง โดยสั่งซื้อลูกปลาบึกจากฟาร์มวังปลาบึกของผมไปเลี้ยง และได้ทดลองเลี้ยงปลาบึกรวมกับปลาดุกบ้าง และเลี้ยงร่วมกับปลานิลบ้าง ตามนิสัยที่ชอบศึกษาและทดลองของเขา และได้เฝ้าสังเกตเก็บข้อมูลต่างๆ มาโดยใกล้ชิดตลอดเวลา 5 ปี ที่ทดลองมา ในปีนี้คุณสมบูรณ์ก็ได้ข้อสรุปอันสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการ เลี้ยงสัตว์น้ำอยู่ 2 ประการ คือ

1. ปลาบึก สามารถเลี้ยงได้ในน้ำกร่อย

คุณสมบัติ อันเยี่ยมยอดของปลาบึกข้อนี้ แม้แต่ผมเองซึ่งคลุกคลีอยู่กับปลาบึกมาเกือบ 30 ปี ก็ยังไม่เคยทราบมาก่อน จึงรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง และเพิ่มความรู้สึกนับถือปลาบึกมากขึ้นกว่าเดิมอีกเยอะ ในความสามารถอันหลากหลายประการของปลาบึก จึงพยายามซักถามรายละเอียดเพิ่มขึ้น ซึ่งคุณสมบูรณ์เองก็มิได้รังเกียจที่จะเผยแพร่ความรู้ให้ฟังว่า มันเป็นการพบโดยบังเอิญ โดยที่คุณสมบูรณ์มีอาชีพหลักคือ การทำเส้นขนมจีนขาย และในกระบวนการผลิตเส้นขนมจีนนั้น ในบางขั้นตอนต้องใช้เกลือเป็นจำนวนค่อนข้างมาก ดังนั้น น้ำที่ใช้ในโรงงานขนมจีนที่ระบายลงบ่อเลี้ยงปลาบึกที่อยู่ใกล้กับโรงงานจึง มีรสเค็ม พอผมถามว่าเค็มมากน้อยแค่ไหน คุณสมบูรณ์ก็บอกว่าไม่มีเครื่องวัดความเค็ม แต่ชิมดูก็รู้สึกว่าเค็มมากจนรู้สึกได้ เพราะน้ำจากโรงงานขนมจีนจะถูกระบายลงในบ่อนี้ทุกวัน ที่มีการทำเส้นขนมจีน เมื่อถามถึงการเจริญเติบโตของปลาบึก คุณสมบูรณ์บอกว่าโตได้ปีละประมาณ 5 กิโลกรัม เพราะเลี้ยงรวมกับปลานิล และไม่ได้ให้อาหารแก่ปลาบึกโดยตรง

ประสบการณ์ ข้อนี้ของคุณสมบูรณ์ จึงเป็นคำตอบอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการเลี้ยงปลาบึกในบ่อเลี้ยงกุ้ง เก่าตามแถบชายทะเล ซึ่งเมื่อก่อนนี้ผมยังไม่กล้าที่จะตอบคำถามของเกษตรกรหลายๆ ท่านที่ถามว่า จะเลี้ยงปลาบึกในบ่อเลี้ยงกุ้งเก่าที่เลิกกิจการไปแล้วได้หรือไม่ ก็เป็นข้อสรุปได้แล้วว่าเลี้ยงได้ แต่ควรเริ่มตั้งแต่ความเค็มน้อยๆ ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเค็มขึ้นจนถึงระดับที่ใช้เลี้ยงกุ้งกุลาดำได้ ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสปลาบึกค่อยๆ ปรับตัวให้คุ้นเคยกับความเค็มที่เพิ่มขึ้นเสียก่อน

2. เลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาบึก เพื่อลดกลิ่นเหม็นโคลนในตัวปลานิลได้ดี

คุณ สมบูรณ์เล่าให้ฟังว่า ได้เฝ้าสังเกตมานานแล้วพบว่า บ่อเลี้ยงปลานิลที่เลี้ยงปลาบึกร่วมอยู่ด้วยนั้น น้ำในบ่อมักจะใสสะอาด และมีสีเขียวอ่อนกว่าบ่อที่เลี้ยงแต่ปลานิลเพียงอย่างเดียว และปลานิลไม่มีกลิ่นเหม็นโคลน ดังนั้น เพื่อให้หายกังขา เขาจึงลงมือทดลองเปรียบเทียบ ตามแบบฉบับของนักวิชาการเสียเลย โดยทดลองเลี้ยงปลานิลเพียงอย่างเดียว จำนวน 2 บ่อ และเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาบึกอีก 2 บ่อ เพื่อเปรียบเทียบผลโดยปล่อยปลาบึกลงเลี้ยง ในอัตรา 100 ตัว ต่อไร่ เมื่อเลี้ยงไปได้ 7-8 เดือน ก็จับปลานิลขาย ส่วนปลาบึกก็ย้ายไปเลี้ยงต่อในบ่ออื่นต่อไป ปรากฏว่าปลานิลที่เลี้ยงแบบชนิดเดียวล้วนๆ ก็ยังมีกลิ่นโคลนอยู่อย่างเดิม ส่วนปลานิลที่เลี้ยงร่วมกับปลาบึกนั้น ไม่มีกลิ่นเหม็นโคลนเลย

ผมแกล้งถามว่า ก่อนทดลองมีเจ้าพ่อเจ้าแม่องค์ไหนมาเข้าฝันแนะนำให้ทดลองหรือว่าคิดขึ้นเอง คุณสมบูรณ์ก็ตอบว่า ไม่มีใครเข้าฝันหรอก แต่อาศัยความช่างสังเกต แล้วเห็นว่าบ่อที่เคยเลี้ยงปลาบึกมาก่อนนั้น น้ำในบ่อมักจะค่อนข้างใส มีสีเขียวน้อยกว่าบ่อที่เลี้ยงปลาชนิดอื่นๆ นอกจากนั้น เมื่อวิดบ่อจับปลาขึ้นแล้ว บ่อที่เลี้ยงปลาบึกก้นบ่อจะสะอาด แทบไม่มีโคลนเลนเหลืออยู่เหมือนบ่อปลาชนิดอื่นๆ และยังสังเกตว่าตำแหน่งลูกตาปลาบึกนั้นอยู่ต่ำมาก แสดงว่าปลาบึกต้องชอบหากินตามก้นบ่อมากกว่าปลาชนิดอื่นๆ เมื่อปลาบึกมีนิสัยชอบหากินตามก้นบ่อแล้ว ก็กินเศษซากต่างๆ ที่สะสมทับถมอยู่ที่ก้นบ่อเป็นอาหารทุกวัน ก้นบ่อก็จะต้องสะอาด น้ำก็จะพลอยสะอาดไปด้วย เมื่อน้ำสะอาดแล้ว ปลานิลก็จะไม่มีกลิ่นเหม็นโคลนใช่ไหม? ครับ พี่แกอ้างทฤษฎีเรขาคณิต สอดรับกันเป็นทอดๆ อย่างนี้ เป็นใครก็ต้องยอมรับแล้วละครับว่า “แน่จริง” เพราะพี่แกสามารถใช้ปลาขงเบ้งฮื้อ มาทำหน้าที่เป็นภารโรงในบ่อเลี้ยงปลาให้แกได้นั่นเอง