วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก

   ปลานิล เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบบริเวณลุ่มน้ำไนล์ ในบริเวณแอฟริกาตะวันออก จนถึงบริเวณลุ่มน้ำไนล์ตะวันตก บริเวณลุ่มน้ำเซเนกัลและไนเจอร์
  ปลานิล เป็นพี่น้องร่วมตระกูลกับปลาหมอเทศที่เรารู้จักกันดีคือ ตระกูล Tilapia ด้วยเหตุนี้ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลานิลจึงมีชื่อว่า Tilapia niloticus ซึ่งบ่งบอกถึงลุ่มน้ำไนล์อันเป็นถิ่นกำเนิดอยู่ด้วย แต่ต่อมาด้วยเหตุผลทางด้านวิชาการบางประการ ปลานิลจึงมีชื่อใหม่เป็น Oreocromis niloticus แต่ก็ยังมีชื่อของลุ่มน้ำไนล์ติดอยู่เหมือนเดิม
   ปลานิล เป็นปลาที่มีศักยภาพในด้านการเพาะเลี้ยงอยู่สูงมาก คือมีเนื้ออร่อยกว่าปลาน้ำจืดชนิดอื่นหลายชนิด สามารถกินอาหารธรรมชาติได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ มีความสามารถสูงในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี คือ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิน้ำ 10-40 องศาเซลเซียส และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพที่ถูกกักขังในที่แคบ เช่น บ่อเลี้ยงหรือกระชังได้ และสามารถเจริญเติบโตได้ดีเหมือนในธรรมชาติ
   ด้วย คุณสมบัติดังกล่าว ปลานิล จึงถูกนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อและกระชังในหลายประเทศเกือบทั่วโลก ยกเว้นประเทศที่มีอุณหภูมิหนาวจัดเท่านั้น เพราะปลานิลสามารถเข้ามาทดแทนความขาดแคลนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในบางประเทศที่ แห้งแล้งทุรกันดารได้เป็นอย่างดี จนได้ชื่อว่า “Aquatic Chicken” ปลานิล จึงกลายเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงในเกือบทุกประเทศ และเป็นปลาที่มีการเพาะเลี้ยงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยและของโลกด้วย

ปลานิลถูกนำเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นครั้ง แรกโดยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิอากิฮิโต แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ทรงจัดส่งปลานิลมาทูลฯถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 จำนวน 50 ตัว ในระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ในบริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา พระราชวังสวนดุสิต ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเลี้ยงในบ่อดิน และได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ขุดบ่อดินเพิ่มขึ้นเพื่อขยายพันธุ์ปลานิลให้มากขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมประมงมาคอยตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน

เมื่อ เลี้ยงปลานิลและขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นทุกทีจนครบ 1 ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลูกปลานิล ขนาดความยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้กรมประมงไปเลี้ยงและขยายพันธุ์เพิ่มต่อไป และได้ทรงประทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิล” ซึ่งคำว่า “นิล” นั้น นอกจากจะมีความหมายว่าเป็นอัญมณีที่มีค่าแล้ว ยังบ่งบอกถึงถิ่นกำเนิดของปลาชนิดนี้คือ แม่น้ำไนล์ (Nile) อีกด้วย

บทบาทด้านเศรษฐกิจของปลานิลในประเทศไทย

เมื่อ กรมประมงได้รับพระราชทานปลานิลมาแล้ว ก็ได้เร่งขยายพันธุ์ปลานิลตามสถานีประมงต่างๆ ทั่วประเทศอีก 15 แห่ง เพื่อขยายพันธุ์ไว้แจกจ่ายเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2510 เป็นต้นมา นับจำนวนได้หลายล้านตัว

ส่วนปลานิลที่คงเหลืออยู่ในบ่อวัง สวนจิตรลดา พระองค์ได้ทรงใช้ในการผลิตพันธุ์ปลานิลต่อมาโดยตลอด จนได้ปลานิลสายพันธุ์แท้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกและพากันเรียกว่า “ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา” (Chitrada Strain) ซึ่งนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อวงการเพาะเลี้ยงปลานิลทั่วโลก

นับ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การเพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีโดยไม่หยุดยั้ง ทั้งนี้เพราะปลานิลเป็นปลาที่คนไทยนิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนปลาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้น ในช่วงแรกของการเพาะเลี้ยงปลานิลจนถึงช่วงกลางคือ พ.ศ. 2535 การบริโภคภายในประเทศจึงเป็นตลาดสำคัญของการเพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทย หลังจากนั้นการส่งออกปลานิลจึงเริ่มเกิดขึ้นและเติบโตในอัตราที่ค่อนข้างสูง มาโดยตลอด

ในขณะที่การเพาะเลี้ยงปลานิลมีการเติบโตในอัตรา ที่ค่อนข้างสูงโดยตลอด กรมประมงจึงต้องเตรียมการรองรับการขยายตัวดังกล่าวด้วยการปรับปรุงพันธุ์ปลา นิลให้มีรูปร่างและคุณสมบัติด้านต่างๆ ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่ชื่อว่า “จิตรลดา 3″ ในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งมีลักษณะเด่นประจำสายพันธุ์ คือ

1. เพศ เป็นเพศผู้และเพศเมีย

2. รูปร่าง ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สันหนา

3. ผลผลิต ให้เนื้อสูงกว่าปลานิลพันธุ์ปกติ ร้อยละ 40

4. อัตรารอด สูงกว่าปลานิลพันธุ์ปกติ ร้อยละ 24

ใน ปัจจุบันนี้ ปลานิลพันธุ์จิตรลดา 3 นี่เองที่เป็นปลาพื้นฐานของการเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อส่งออก โดยนำลูกปลาจิตรลดา 3 มาแปลงเพศด้วยการให้กินฮอร์โมนตั้งแต่ถุงไข่แดงเริ่มยุบ จนกระทั่งลูกปลานิลมีอายุ 3-4 สัปดาห์ เพื่อแปลงเพศเมียให้เป็นเพศผู้ทั้งหมด เพราะปลานิลเป็นปลาที่เพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าและโตเร็วกว่าเพศเมีย รวมทั้งป้องกันการผสมพันธุ์ไม่ให้เกิดลูกปลานิลแน่นบ่ออีกด้วย

การเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออก

การเลี้ยงปลานิลเพื่อการส่งออกนั้น ต้องใช้วิธีการเลี้ยงอย่างถูกต้องเหมาะสมทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ปลานิลที่มีขนาดและรูปร่าง ตลอดจนคุณภาพของเนื้อและซากที่ดีตามข้อกำหนดของผู้ส่งออก ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้

1. แบบของโกรเบสมารีน (บริษัท)

การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน

มีการเลี้ยงแล้วย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่อีก 2 ครั้งคือ ครั้งแรกเมื่อเตรียมบ่อดิน ตากบ่อให้แห้งอย่างน้อย 3 วัน แล้วใส่ปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อโรค และปรับคุณภาพน้ำแล้วสูบน้ำเข้าบ่อโดยผ่านการกรองน้ำ เพื่อป้องกันศัตรูทางธรรมชาติอย่างรอบคอบแล้วปล่อยลูกปลานิลแปลงเพศ ขนาดเท่าใบมะขาม ลงเลี้ยงในบ่อ ประมาณ 20,000 ตัว ต่อไร่ ใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนสูง 40% ในอัตราประมาณ 20% ของน้ำหนักปลา วันละ 5 มื้อ

เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 45 วัน ลูกปลามีน้ำหนักตัวละ 15-20 กรัม ก็ย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่ที่เตรียมไว้อย่างดีแล้ว ในอัตรา 15,000 ตัว ต่อไร่ โดยเรียกว่า การเลี้ยงปลานิลรุ่น โดยให้อาหารที่มีโปรตีนน้อยลง คือประมาณ 32% โดยให้อาหาร 3-5% ของน้ำหนักตัวปลา เมื่อเลี้ยงไปได้ 60-75 วัน จะได้ลูกปลาขนาดน้ำหนักตัว ประมาณ 100 กรัม ก็จะย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่ ในอัตรา 4,000-5,000 ตัว ต่อไร่ เรียกว่าการเลี้ยงปลาใหญ่ ให้อาหารที่มีระดับโปรตีน ประมาณ 28% ในอัตรา 2-3% ของน้ำหนักตัวต่อวัน

ซึ่งการเลี้ยงในบ่อนี้ ควรมีกังหันตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในตอนกลางคืนด้วย เลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 5-6 เดือน จะได้ปลานิลขนาดน้ำหนัก 800-1,000 กรัม ก็จับขายได้

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง จำเป็นต้องคัดเลือกแหล่งน้ำที่จะใช้ลอยกระชังให้เหมาะสม ดังนี้

1. เป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำเพียงพอตลอดปีจะเป็นแหล่งน้ำเปิด คือ แม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำปิด เช่น อ่างเก็บน้ำก็ได้

2. มีความลึกได้น้อยกว่า 4 เมตร เพื่อให้สามารถลอยกระชัง ให้ก้นกระชังอยู่สูงกว่าก้นคลองได้ไม่น้อยกว่า 1 เมตร เพื่อให้กระแสน้ำไหลผ่านได้สะดวก

3. เป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำค่อนข้างใส และมี pH ประมาณ 6.5-8.0 และค่าออกซิเจนในน้ำมีไม่น้อยกว่า 5 ppm.

4. ควรเป็นบริเวณโล่งแจ้ง มีวัชพืชในน้ำน้อยหรือไม่มีเลย

5. ไม่ขัดต่อกฎหมายกรมประมง

6. การคมนาคมสะดวก

7. ห่างไกลจากแหล่งน้ำเสียและชุมชนแออัด

รูปแบบกระชังปลานิลที่นิยมในปัจจุบัน

กระชังไม้

ไม่ ว่าจะเป็นไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็ง ส่วนใหญ่จะใช้ในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลไม่แรงนัก ขนาดที่นิยมใช้ ได้แก่ 3×3×2 เมตร และ 4×6×3 เมตร

ข้อดี คือ ต้นทุนต่ำ

ข้อเสีย คือ อายุการใช้งานสั้น ประมาณ 2-5 ปี

กระชังเหล็ก

นิยมใช้กันในแหล่งน้ำปิด หรือแหล่งน้ำเปิดที่มีกระแสไหลเชี่ยว ขนาดที่นิยมคือ 3×3×1.5 เมตร และ 4×6×2 เมตร

ข้อดี คือ อายุการใช้งานยาว

ข้อเสีย คือ ต้นทุนสร้างกระชังสูง

วิธีเลี้ยงปลานิลในกระชัง

ปล่อยลูกปลาแปลงเพศ ขนาดตั้งแต่ น้ำหนัก 30-40 กรัม ต่อตัว ในอัตราเฉลี่ยประมาณ 100 ตัว ต่อ 1 ตารางเมตร

อาหารและการให้อาหารปลานิล

ใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนประมาณ 28-30% เลี้ยงวันละ 3 มื้อ ในสัดส่วนประมาณ 5-6% ของน้ำหนักปลา หรือคอยสังเกตการกินอาหารของปลาในขณะให้อาหาร ถ้าหว่านอาหารลงไปแล้วปลาสามารถกินได้หมดภายใน 5-8 นาที ก็หยุดให้ เมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 45 วัน จึงปรับอาหารให้มีโปรตีนต่ำลง ให้วันละ 3 มื้อ ประมาณ 3-5% ของน้ำหนักตัวไปอีก 1 เดือน จึงปรับเปลี่ยนอาหารที่มีระดับโปรตีนต่ำลงอีก 2-3% โดยให้วันละ 2-4 มื้อ เรื่อยไปจนปลาได้ขนาด 800-1,000 กรัม จึงจับขาย

ต้นทุนการเลี้ยงปลานิล

1. ค่ากระชังพร้อมแพ 5,500-6,000 บาท

(คิดค่าเสื่อมราคาต่อรอบการเลี้ยง 600 บาท)

2. ค่าพันธุ์ปลา 1,000 ตัวx3 บาท 3,600 บาท

3. ค่าอาหาร 26,600-30,400 บาท

4. อื่นๆ ประมาณ 1,000 บาท

รวมต้นทุนการเลี้ยงต่อรอบ 31,800-35,600 บาท

รวมต้นทุนตั้งแต่เริ่มเลี้ยง 36,700-41,500 บาท

ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ปลา 1,000 กิโลกรัมx38 บาท ต่อกระชัง 38,000 บาท

หักต้นทุน 31,800-35,600 บาท กำไร 6,250-2,400 บาท

2. การเลี้ยงแบบเกษตรกร

แบบของคุณกบ แห่งดอนตูม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

คุณ กบ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ได้เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวมา 2-3 ปีแล้ว ในฟาร์มที่มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ในระยะแรก การเลี้ยงได้ผลดีมาก ได้ผลผลิตกุ้งขาวไร่ละประมาณ 5 ตัน ต่อไร่ แต่เมื่อเลี้ยงซ้ำๆ หลายรอบ ผลผลิตกุ้งก็ลดลงเรื่อยมาเป็นลำดับ จึงได้ปรับปรุงบ่อเลี้ยง โดยลอกบ่อให้ลึกมากขึ้นอีก จากความลึก 2.5 เมตร เป็นลึก 3-4 เมตร แล้วลองเลี้ยงดูใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่กลางฤดูหนาวที่เพิ่งผ่านมา

วิธีการเลี้ยงปลานิล

1. เตรียมบ่อเลี้ยง ขนาดเนื้อที่ 25 ไร่ ตากบ่อไว้ประมาณ 5-7 วัน ให้แห้งสนิท โรยปูนขาว ประมาณ 40 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วนำน้ำล้างคอกไก่มาใส่เพื่อเป็นปุ๋ยสำหรับสร้างอาหารตามธรรมชาติ ซึ่งจุดนี้ผมพยายามให้ข้อคิดกับคุณกบว่า การใส่ปุ๋ยคอกโดยไม่มีหลักเกณฑ์ว่าจะต้องใส่ในปริมาณเท่าไร มากน้อยอย่างไร บางทีมันก็เหมือนดาบสองคม ถ้าใส่มากเกินไปอาจจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ และผลที่ตามมาก็คือลูกกุ้งจะเจ็บป่วยล้มตายลง โดยที่เจ้าของบ่ออาจไม่เฉลียวใจว่าเป็นเพราะปุ๋ยคอกที่ใส่มากเกินไป ก็มัวแต่ไปโทษว่าเป็นเพราะเกิดโรคระบาดขึ้น กุ้งจึงล้มตายลง ตามกระบวนการ ดังนี้ ใส่ปุ๋ยคอก น้ำเสีย กุ้งตายหรือใส่ปุ๋ยคอก น้ำเสีย เกิดโรค กุ้งตาย

ข้อเสียหรือจุดอันตรายอีกประการหนึ่งของการใส่ปุ๋ยคอกก็คือ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปมักมียาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าเชื้อโรคที่เจ้าของฟาร์มไก่หรือหมู มักใช้ทำความสะอาดคอกอยู่เป็นประจำ ก็อาจสร้างความเสียหายให้แก่กุ้งหรือปลาที่เราเลี้ยงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ผมจึงไม่แนะนำให้ใส่ปุ๋ยคอกลงในบ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ที่ใช้เวลานานหลายๆ เดือน เพราะลำพังของเสีย เศษอาหารที่เหลือ และซากแพลงตอนที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงนั้น ก็มากเกินพอที่จะทำให้เกิดการเน่าเสียของน้ำในบ่อได้อยู่แล้ว ถ้าเราเพิ่มปุ๋ยคอกเข้าไปอีก แล้วน้ำจะไม่เน่าเสียได้อย่างไร

2. เมื่อเติมน้ำและตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำเสร็จแล้ว จึงนำลูกกุ้งขาววัยอ่อนมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ 25 ไร่ จำนวน 500,000 ตัว หรือประมาณ 20,000 ตัว ต่อไร่

3. เมื่อปล่อยลูกกุ้งลงบ่อแล้วประมาณ 10 วันขึ้นไป จึงปล่อยลูกปลานิลที่แปลงเพศแล้วขนาดเท่าใบมะขาม จำนวน 2,000-3,000 ตัว ต่อไร่ ตามลงไป ก่อนปล่อยควรตรวจสอบลูกกุ้งที่ปล่อยไว้ว่ามีขนาดโตพอที่จะไม่ถูกปลานิลกิน ได้แล้วเสียก่อน มิฉะนั้น ลูกปลานิลจะกินลูกกุ้งเสียจนเกือบหมด

4. กางกระชัง ขนาด 7.0×15.0×2.50 เมตร ในบ่อ จำนวน 60 กระชัง หรือประมาณ 2 กระชัง ต่อเนื้อที่บ่อ 1 ไร่ ปล่อยปลานิลแปลงเพศ ขนาด 4 ตัว ต่อกิโลกรัม ลงเลี้ยงในกระชังประมาณ 1,500 ตัว ต่อกระชัง

5. การให้อาหาร ให้อาหารเฉพาะปลานิลที่เลี้ยงในกระชังเท่านั้น ส่วนกุ้งและปลานิลที่เลี้ยงนอกกระชังไม่ต้องให้อาหาร อาหารที่ใช้ควรเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลานิลใหญ่ที่ระดับโปรตีน ประมาณ 28% วันละ 2-3 มื้อ รวมประมาณ 2-3% ของน้ำหนักปลาในกระชัง

6. ปลานิลที่เลี้ยงในกระชัง ใช้เวลาประมาณ 60-70 วัน ปลาจะโตได้ขนาดตัวละ 600-700 กรัม (6-7 ขีด) ถ้าขายให้ผู้ค้าในท้องถิ่นนั้นจะได้กิโลกรัมละ ประมาณ 50 บาท แต่ถ้าขายให้ผู้รวบรวมปลาส่งห้องเย็นจะขายได้ราคาถูกกว่า และได้เงินล่าช้ากว่าผู้ค้าในท้องถิ่น ประมาณ 30 วัน

ส่วนกุ้งขาว และปลานิลนอกกระชังก็เลี้ยงต่อไป จนได้อายุประมาณ 7-8 เดือน จึงจับขึ้นขาย กุ้งขาวขนาด 30-40 ตัว ต่อกิโลกรัม ขายได้ 200 บาท ต่อกิโลกรัม

7. ผลประกอบการ คุณกบไม่ได้แจ้งว่ามีกำไร หรือขาดทุนเท่าไร บอกแต่เพียงว่า ปัจจุบันกำไรไม่ดีเหมือนเมื่อ 2-3 ปี ที่ผ่านมา

8. ปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยง ปลานิลเริ่มเป็นโรคอันเกิดเชื้อบัคเตรี ที่ชื่อ Streptococcus sp. ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนไม่เคยเกิดโรคนี้

แบบคุณบุญลือ แห่งดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

เกษตรกร รายนี้เลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งก้ามกราม ขนาดเนื้อที่ฟาร์ม 30 ไร่ แบ่งเลี้ยงเป็น 7 บ่อ และเลี้ยงปีละ 2 รอบ โดยหยุดเลี้ยงในช่วงฤดูหนาว เริ่มเลี้ยงแบบนี้มาได้ 2-3 ปีแล้ว บ่อที่เลี้ยงมีความลึกเพียง 1.5 เมตร เท่านั้น ดังนั้น ในช่วงหน้าร้อนจึงต้องตีน้ำช่วยตลอดเวลา ผิดกับการเลี้ยงของคุณกบที่ใช้บ่อลึกถึง 3-4 เมตร และเลี้ยงได้ตลอดปี ไม่ต้องตีน้ำช่วย

วิธีการเลี้ยงปลานิล

1. เตรียมบ่อ ตากบ่อให้แห้ง ใส่ปูนขาว แต่ไม่ใส่ปุ๋ยคอก แล้วกางกระชังโดยใช้วิธีปักหลัก 4 มุม กับพื้นบ่อ ใช้กระชัง ขนาด 7×15×1.5 เมตร ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับของคุณกบ แต่มีความลึกของกระชังน้อยกว่าคุณกบ 1 เมตร ในอัตราส่วน 1-2 กระชัง ต่อเนื้อที่บ่อ 3 ไร่

2. เติมน้ำลงบ่อให้ได้ระดับที่ต้องการ ปรับสภาพน้ำให้เหมาะสม ตีน้ำไว้ล่วงหน้า 2-3 วัน

3. ปล่อยปลานิลดำแปลงเพศ ขนาด 4 ตัว ต่อกิโลกรัม ลงเลี้ยงในกระชัง กระชังละ 1,100-1,200 ตัว

4. ปล่อยกุ้งก้ามกรามไม่แยกเพศ ขนาด 200 ตัว ต่อกิโลกรัม ลงภายในบ่อ (นอกกระชัง) ในอัตราไร่ละ 10,000 ตัว

5. ปลานิลในกระชัง เลี้ยงด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีนสูง ประมาณ 30-35% ที่ใช้เลี้ยงปลาทับทิม แต่ถ้าให้อาหารสำหรับเลี้ยงปลานิลดำ ปลาจะโตช้ามาก เมื่อเลี้ยงไปครบ 80-90 วัน ปลานิลจะโตได้ขนาดตัวละ 900-1,100 กรัม ก็จับขึ้นมาขายได้

ราคาขายปลานิล ขนาด 600 กรัม ขึ้นไป กิโลกรัมละ 55 บาท ขนาดเล็กกว่านี้ได้กิโลกรัมละ 35 บาท

6. ส่วนกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงไว้อยู่นอกกระชัง คุณบุญลือจะให้อาหารทุกวัน โดยใช้อาหารกุ้งของ CP สลับกับอาหารที่ปรุงขึ้นเอง จนครบ 6 เดือน ถ้าสังเกตเห็นว่ากุ้งตัวเมียเริ่มมีไข่ติดหน้าท้อง ก็จะจับกุ้งเพศเมียขึ้นมาขายก่อน ซึ่งจะมีขนาด 40 ตัว ต่อกิโลกรัม ขายได้ราคากิโลกรัมละ 80-100 บาท ส่วนกุ้งตัวผู้จะเลี้ยงต่ออีก 1 เดือน จึงจับขึ้นขาย จะได้กุ้งขนาด 12-13 ตัว ต่อกิโลกรัม ราคา 180 บาท ต่อกิโลกรัม ถ้าเลี้ยงต่อไปอีก 1 เดือน จะได้กุ้งขนาด 10-11 ตัว ต่อกิโลกรัม ราคาจะดีขึ้นถึง 200 บาท ต่อกิโลกรัม

7. ผลประกอบการ มีกำไรเกือบทุกปี โดยแยกออกเป็น

ผลกำไรจากปลานิล ปีละประมาณ 70,000-80,000 บาท

ผลกำไรจากกุ้งก้ามกราม ปีละประมาณ 200,000-300,000 บาท

3. การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาบึก ตามแบบ คุณสมบูรณ์ กวีวิวัฒน์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

คุณ สมบูรณ์ เล่าให้ฟังว่า ตนเริ่มศึกษาทดลองการเลี้ยงปลามาสิบกว่าปีแล้ว ควบคู่ไปกับการทำโรงงานผลิตเส้นขนมจีนขาย ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลัก ปลาที่เลี้ยงมีหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียน ปลายี่สกเทศ ปลาดุก ปลาหมอไทย และปลานิล ต่อมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว จึงได้เริ่มทดลองเลี้ยงปลาบึกดูบ้าง โดยสั่งซื้อลูกปลาบึกจากฟาร์มวังปลาบึกของผมไปเลี้ยง และได้ทดลองเลี้ยงปลาบึกรวมกับปลาดุกบ้าง และเลี้ยงร่วมกับปลานิลบ้าง ตามนิสัยที่ชอบศึกษาและทดลองของเขา และได้เฝ้าสังเกตเก็บข้อมูลต่างๆ มาโดยใกล้ชิดตลอดเวลา 5 ปี ที่ทดลองมา ในปีนี้คุณสมบูรณ์ก็ได้ข้อสรุปอันสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการ เลี้ยงสัตว์น้ำอยู่ 2 ประการ คือ

1. ปลาบึก สามารถเลี้ยงได้ในน้ำกร่อย

คุณสมบัติ อันเยี่ยมยอดของปลาบึกข้อนี้ แม้แต่ผมเองซึ่งคลุกคลีอยู่กับปลาบึกมาเกือบ 30 ปี ก็ยังไม่เคยทราบมาก่อน จึงรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง และเพิ่มความรู้สึกนับถือปลาบึกมากขึ้นกว่าเดิมอีกเยอะ ในความสามารถอันหลากหลายประการของปลาบึก จึงพยายามซักถามรายละเอียดเพิ่มขึ้น ซึ่งคุณสมบูรณ์เองก็มิได้รังเกียจที่จะเผยแพร่ความรู้ให้ฟังว่า มันเป็นการพบโดยบังเอิญ โดยที่คุณสมบูรณ์มีอาชีพหลักคือ การทำเส้นขนมจีนขาย และในกระบวนการผลิตเส้นขนมจีนนั้น ในบางขั้นตอนต้องใช้เกลือเป็นจำนวนค่อนข้างมาก ดังนั้น น้ำที่ใช้ในโรงงานขนมจีนที่ระบายลงบ่อเลี้ยงปลาบึกที่อยู่ใกล้กับโรงงานจึง มีรสเค็ม พอผมถามว่าเค็มมากน้อยแค่ไหน คุณสมบูรณ์ก็บอกว่าไม่มีเครื่องวัดความเค็ม แต่ชิมดูก็รู้สึกว่าเค็มมากจนรู้สึกได้ เพราะน้ำจากโรงงานขนมจีนจะถูกระบายลงในบ่อนี้ทุกวัน ที่มีการทำเส้นขนมจีน เมื่อถามถึงการเจริญเติบโตของปลาบึก คุณสมบูรณ์บอกว่าโตได้ปีละประมาณ 5 กิโลกรัม เพราะเลี้ยงรวมกับปลานิล และไม่ได้ให้อาหารแก่ปลาบึกโดยตรง

ประสบการณ์ ข้อนี้ของคุณสมบูรณ์ จึงเป็นคำตอบอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการเลี้ยงปลาบึกในบ่อเลี้ยงกุ้ง เก่าตามแถบชายทะเล ซึ่งเมื่อก่อนนี้ผมยังไม่กล้าที่จะตอบคำถามของเกษตรกรหลายๆ ท่านที่ถามว่า จะเลี้ยงปลาบึกในบ่อเลี้ยงกุ้งเก่าที่เลิกกิจการไปแล้วได้หรือไม่ ก็เป็นข้อสรุปได้แล้วว่าเลี้ยงได้ แต่ควรเริ่มตั้งแต่ความเค็มน้อยๆ ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มความเค็มขึ้นจนถึงระดับที่ใช้เลี้ยงกุ้งกุลาดำได้ ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสปลาบึกค่อยๆ ปรับตัวให้คุ้นเคยกับความเค็มที่เพิ่มขึ้นเสียก่อน

2. เลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาบึก เพื่อลดกลิ่นเหม็นโคลนในตัวปลานิลได้ดี

คุณ สมบูรณ์เล่าให้ฟังว่า ได้เฝ้าสังเกตมานานแล้วพบว่า บ่อเลี้ยงปลานิลที่เลี้ยงปลาบึกร่วมอยู่ด้วยนั้น น้ำในบ่อมักจะใสสะอาด และมีสีเขียวอ่อนกว่าบ่อที่เลี้ยงแต่ปลานิลเพียงอย่างเดียว และปลานิลไม่มีกลิ่นเหม็นโคลน ดังนั้น เพื่อให้หายกังขา เขาจึงลงมือทดลองเปรียบเทียบ ตามแบบฉบับของนักวิชาการเสียเลย โดยทดลองเลี้ยงปลานิลเพียงอย่างเดียว จำนวน 2 บ่อ และเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาบึกอีก 2 บ่อ เพื่อเปรียบเทียบผลโดยปล่อยปลาบึกลงเลี้ยง ในอัตรา 100 ตัว ต่อไร่ เมื่อเลี้ยงไปได้ 7-8 เดือน ก็จับปลานิลขาย ส่วนปลาบึกก็ย้ายไปเลี้ยงต่อในบ่ออื่นต่อไป ปรากฏว่าปลานิลที่เลี้ยงแบบชนิดเดียวล้วนๆ ก็ยังมีกลิ่นโคลนอยู่อย่างเดิม ส่วนปลานิลที่เลี้ยงร่วมกับปลาบึกนั้น ไม่มีกลิ่นเหม็นโคลนเลย

ผมแกล้งถามว่า ก่อนทดลองมีเจ้าพ่อเจ้าแม่องค์ไหนมาเข้าฝันแนะนำให้ทดลองหรือว่าคิดขึ้นเอง คุณสมบูรณ์ก็ตอบว่า ไม่มีใครเข้าฝันหรอก แต่อาศัยความช่างสังเกต แล้วเห็นว่าบ่อที่เคยเลี้ยงปลาบึกมาก่อนนั้น น้ำในบ่อมักจะค่อนข้างใส มีสีเขียวน้อยกว่าบ่อที่เลี้ยงปลาชนิดอื่นๆ นอกจากนั้น เมื่อวิดบ่อจับปลาขึ้นแล้ว บ่อที่เลี้ยงปลาบึกก้นบ่อจะสะอาด แทบไม่มีโคลนเลนเหลืออยู่เหมือนบ่อปลาชนิดอื่นๆ และยังสังเกตว่าตำแหน่งลูกตาปลาบึกนั้นอยู่ต่ำมาก แสดงว่าปลาบึกต้องชอบหากินตามก้นบ่อมากกว่าปลาชนิดอื่นๆ เมื่อปลาบึกมีนิสัยชอบหากินตามก้นบ่อแล้ว ก็กินเศษซากต่างๆ ที่สะสมทับถมอยู่ที่ก้นบ่อเป็นอาหารทุกวัน ก้นบ่อก็จะต้องสะอาด น้ำก็จะพลอยสะอาดไปด้วย เมื่อน้ำสะอาดแล้ว ปลานิลก็จะไม่มีกลิ่นเหม็นโคลนใช่ไหม? ครับ พี่แกอ้างทฤษฎีเรขาคณิต สอดรับกันเป็นทอดๆ อย่างนี้ เป็นใครก็ต้องยอมรับแล้วละครับว่า “แน่จริง” เพราะพี่แกสามารถใช้ปลาขงเบ้งฮื้อ มาทำหน้าที่เป็นภารโรงในบ่อเลี้ยงปลาให้แกได้นั่นเอง
http://blackfishes.blogspot.com/

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย


             ในช่วงฤดูร้อน เราจะมีเห็ดฟางที่เหลือจากการทำนาเป็นจำนวนมาก เรามีปัญหาเกษตรไม่น้อยที่มีรายได้ไม่เพียงพอ เรามีเกษตรที่เผาฟางทิ้งไป ดังนั้นเราจึงมีการดำเนินการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นด้านเห็ดฟาง รายได้ของเกษตรกร รวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีรูปแบบการทำงานหลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
              เป็นวิธีการที่ได้ประยุกต์มาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง   ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เหล่านี้เป็นต้น เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตดอกเห็ดได้สูง แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผลผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมาก สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอน และเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือทำไว้เพื่อใช้กินเองในครัวเรือน เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนี้ขนาดกองเล็กมาก ดังนั้นเพื่อสะดวกในการเพาะ จึงนิยมทำไม้แบบเพื่อจะอัดวัสดุที่จะเพาะให้เป็นรูปกองเล็ก ๆ ได้ 
สิ่งจำเป็นในการเพาะเห็ดฟาง
         วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะ ใช้ฟางตากแห้งสนิทซึ่งเก็บไว้โดยไม่เปียกชื้นหรือขึ้นรามาก่อน ใช้ได้ทั้งฟางข้าวเหนียว ฟางข้าวจ้าว ฟางข้าวที่นวดเอาเมล็ดออกแล้ว และส่วนของตอซังเกี่ยวหรือถอนก็ใช้ได้ดีถ้าเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้ในการ เพาะต่าง ๆ แล้ว ตอซังจะดีกว่าปลายฟางข้าวนวดและวัสดุอื่น ๆ มาก เนื่องจากตอซังมีอาหารมากกว่าและอุ้มน้ำได้ดี กว่าปลายฟาง
         อาหารเสริม การใส่อาหารเสริมเป็นส่วนช่วยให้เส้นใยของเห็ดฟางเจริญได้ดี และทำให้ได้ดอกเห็ดมากกว่าที่ไม่ได้ใส่ถึงประมาณเท่าตัว อาหารเสริมที่นิยมใช้อยู่เป็นประจำได้แก่ ละอองข้าว ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกแห้ง ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวาตากแห้งแล้วสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จอกแห้ง และเศษพืชชิ้นเล็ก ๆ ที่นิ่มและอุ้มน้ำได้ดี เหล่านี้ก็มีส่วนใช้เป็นอาหารเสริมได้เช่นกัน
         เชื้อเห็ดฟางที่จะใช้เพาะ การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางเพื่อให้ได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมกับราคามีหลักเกณฑ์การพิจารณาประกอบดังนี้ คือ
      - เมื่อจับดูที่ถุงเชื้อเห็ด ควรจะต้องมีลักษณะเป็นก้อนแน่นมีเส้นใยของเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนแล้ว
      - ไม่มีเชื้อราชนิดอื่น ๆ หรือเป็นพวกแมลง หนอน หรือตัวไร เหล่านี้เจือปน และไม่ควรจะมีน้ำอยู่ก้นถุง ซึ่งแสดงว่าชื้นเกินไป ความงอกจะไม่ดี
      - ไม่มีดอกเห็ดอยู่ในถุงเชื้อเห็ดนั้น เพราะนั่นหมายความว่าเชื้อเริ่มแก่เกินไปแล้ว
      - ควรผลิตจากปุ๋ยหมักของเปลือกเมล็ดบัวผสมกับขี้ม้า หรือไส้นุ่นกับขี้ม้า
            เส้นใยไม่ฟูจัดหรือละเอียดเล็กเป็นฝอยจนผิดธรรมดาลักษณะของเส้นใยควรเป็นสีขาวนวล เจริญคลุมทั่วทั้งก้อนเชื้อเห็ดนั้น
      - ต้องมีกลิ่นหอมของเห็ดฟางด้วย จึงจะเป็นก้อนเชื้อเห็ดฟางที่ดี
      - เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อต้องไม่ถูกแดด หรือรอการขายไว้นานจนเกินไป
      - เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อมานั้น ควรจะทำการเพาะภายใน วัน
      - อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาใด ๆ ของผู้ขาย ควรสอบถามจากผู้ที่เคยทดลองเพาะมาก่อนจะดีกว่า นอกจากนี้ควรมีการตรวจสอบเชื้อเห็ดฟางจากหลายยี่ห้อ เชื้อเห็ดฟางยี่ห้อใดให้ผลผลิตสูงก็ควรเลือกใช้ยี่ห้อนั้นมาเพาะจะดีกว่า
      - ราคาของเชื้อเห็ดฟางไม่ควรจะแพงจนเกินไป ควรสืบราคาจากเชื้อเห็ดหลาย ๆ ยี่ห้อ เพื่อเปรียบเทียบดูด้วย
       สถานที่เพาะเห็ด เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางเป็นการเพาะบนดิน ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมแปลงเพาะนั้นด้วยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต้องเป็นบริเวณที่ไม่มียาฆ่าแมลงหรือยากันเชื้อรา น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดี และต้องเป็นที่ไม่เคยใช้เพาะเห็ดฟางมาก่อน ถ้าเคยเพาะเห็ดฟางมาก่อนก็ควรจะทำความสะอาดที่บริเวณนั้น โดยการขุดผลึกดินตากแดดจัด ๆ ไว้สัก อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ บนดินที่จะเป็นพาหะของโรคและแมลงต่อเชื้อเห็ดที่เราจะเพาะในที่ดินนั้นได้ดีขึ้น
        สรุปแล้วที่กองเพาะเห็ดควรเป็นสถานที่ที่โล่งแจ้ง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ สภาพดินบริเวณนั้นจะต้องไม่เค็ม เพราะความเค็มของดินจะทำให้เส้นใยเห็ดไม่รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดได้

ปัจจัยที่สำคัญในการเพาะเห็ดฟาง
       1. สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดฟาง เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ดีอยู่แล้ว ส่วนในช่วงอากาศหนาวไม่ค่อยจะดีนัก เพราะอากาศที่เย็นเกินไปไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของดอกเห็ดฟาง สำหรับทางภาคใต้ก็สามารถจะเพาะเห็ดฟางได้ตลอดทั้งปี ถ้ามีฝนตกไม่มากเกินไปนัก
          จึงเห็นได้ว่า การเพาะเห็ดฟางของประเทศไทยเราสามารถเพาะได้ตลอดปี แต่หน้าหนาวผลผลิตจะลดน้อยลงเนื่องจากอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้ราคาสูง หลังฤดูเกี่ยวข้าวอากาศร้อน ฟางและแรงงานมีมากมีคนเพาะมากจึงเป็นธรรมดาที่เห็ดจะมีราคาต่ำลง ในฤดูฝนชาวนาส่วนมากทำนา การเพาะเห็ดน้อยลง ราคาเห็ดฟางนั้นก็จะดีขึ้น


        2. เรื่องความชื้น ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟางมากเป็นตัวกำหนดการเจริญของเส้นใยเห็ดที่สำคัญถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกไม่ได้ ถ้าความชื้นมากเกินไปการระบายอากาศภายในกองไม่ดี ถ้าเส้นใยขาดออกซิเจนก็จะทำให้เส้นใยฝ่อหรือเน่าตายไป
         น้ำที่จะแช่หรือทำให้ฟางชุ่มควรต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเกลือเจือปนหรือเค็ม หรือเป็นน้ำเน่าเสียที่หมักอยู่ในบ่อนาน ๆ จนมีกลิ่นเหม็น ก็ไม่ควรจะนำมาใช้ในการเพาะเห็ดฟางที่ดีนั้น น้ำที่ใช้ในการงอกเส้นใยเห็ดจะมาจากในฟางที่อุ้มเอาไว้และความชื้นจากพื้นแปลงเพาะนั้นก็เพียงพอแล้ว ปกติขณะที่เพาะไว้เป็นกองเรียบร้อยแล้วนั้นจึงไม่ควรจะมีการให้น้ำอีก ควรจะรดเพียงครั้งเดียวคือระหว่างการหมักฟางเพาะทำกองเท่านั้น หรืออาจจะช่วยบ้างเฉพาะในกรณีที่
ความชื้นมีน้อยหรือแห้งจนเกินไป การให้ความชื้นนี้โดยการโปรยน้ำจากฝักบัวรอบบริเวณข้าง ๆ แปลงเพาะเท่านั้นก็พอ
        3. แสงแดด เห็ดฟางไม่ชอบแสงแดดโดยตรงนัก ถ้าถูกแสงแดดมากเกินไปเส้นใยเห็ดอาจจะตายได้ง่าย กองเห็ดฟางเพาะเห็ดหลังจากทำกองเพาะเรียบร้อยแล้ว จึงควรจะทำการคลุมกองด้วยผ้าพลาสติกและใช้ฟางแห้งหรือหญ้าคาปิดคลุมทับอีกเพื่อพรางแสงแดดให้ด้วยดอกเห็ดฟางที่ไม่โดนแสงแดดจัดมีสีขาวนวลสวย ถ้าดอกเห็ดฟางโดนแดดแล้วจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำเร็วขึ้นกว่าปกติ

แสงสุดท้าย

<iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/ferXQga96fg" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

การผลิตข้าวอินทรีย์

        การผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิดเป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว ตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจากสารพิษแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย

        การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอใจ
        การผลิตข้าวอินทรีย์มีขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไปจะแตกต่างกันที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการผลิต จึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
1. การเลือกพื้นที่ปลูก
2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว
3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
4. การเตรียมดิน
5. วิธีปลูก
6. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
7. ระบบการปลูกพืช
8. การควบคุมวัชพืช
9. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช
10. การจัดการน้ำ
11. การเก็บเกี่ยว การนวดและการลดความชื้น
12. การเก็บรักษาข้าวเปลือก
13. การสี
14. การบรรจุหีบห่อเพื่อการค้า
 http://www.brrd.in.th/rkb/organic%20rice/index.php-file=content.php&id=4.htm

ใจกลางความรู้สึกดีดี

<iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/AQt-cByNuGM" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

ไม่ใช่ความลับแต่ยังบอกไม่ได้

     <iframe width="420" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/cGZXGK5oJ1s" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก บล็อกนี้เป็นบล็อกส่วนตัวที่ใช้ประกอบในรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน