วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศักยภาพของภาคเกษตรไทย ในความเป็นจริง...

ก่อนที่จะเห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารของไทย พรศรีและทีมงานคิดว่าเราควรมาศึกษาภาพรวมของภาคเกษตรของไทยเสียก่อน พร้อมทั้งวิเคราะห์ว่าศักยภาพของภาคเกษตรไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กับภาพที่เรารู้จักนั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ยังคงเป็นคำพูดที่หลายๆ คนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งคำพูดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบันนี้ พร้อมกับชื่อเสียงของประเทศที่มีความแข็งแกร่งในด้านเกษตรกรรม
ความสำคัญของภาคเกษตรไทย 
ประการแรก คือ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ โดยรายได้ภาคเกษตรคิดเป็น 9% ของ GDP รวม (GDP : Gross Domestic Product คือ มูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศในรอบหนึ่งปี ส่วน GNP : Gross National Product คือ มูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตของชาติในรอบหนึ่งปี)  ดังตาราง

ที่มา : ข้อมูลเบื้องต้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
food_competitiveness_thailand__economic1_
ประการต่อมา ภาคเกษตรเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ กำลังแรงงานในภาคเกษตร (37.70%) นับว่าเป็นจำนวนแรงงานที่มากที่สุด เมื่อเปรียบกับภาคอื่นๆ  เช่น ภาคอุตสาหกรรม (15.50%), ภาคการค้าส่ง,ค้าปลีก (15.40%) และภาคบริการอื่นๆ(31.50%) เป็นต้น แต่ในทางตรงกันข้ามพบว่าศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรไทยต่ำกว่าภาคอื่นๆ กล่าว คือ ภาคเกษตรใช้จำนวนแรงงานมาก แต่กลับได้ค่า GDP น้อยที่สุดและเมื่อคำนวณอัตราส่วนแรงงานต่อ GDP ภาคเกษตรคิดเป็นเกือบ 11 เท่าของภาคอุตสาหกรรม หรือคิดเป็นประมาณ 4 เท่าของภาคการค้าส่ง, ค้าปลีก  ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ประสิทธิภาพทางการผลิตในภาคเกษตรต่ำจึงทำให้ผลตอบแทนจากการใช้แรงงาน หรือ รายได้ที่ได้จากการใช้แรงงานนั้นต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ต่อคนต่ำตามไปด้วย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,230 บาทต่อคนต่อเดือน (คำกล่าวของนายแพทย์จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ปี 2549)
ประการที่สาม ภาคเกษตรสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยมีอาหารหลายชนิดที่มีการส่งออกเป็นลำดับต้นๆ ของโลก (ดังตาราง) หรืออาจได้กล่าวว่า สินค้าบางชนิด ประเทศไทยเป็นเจ้าตลาดก็ว่าได้ เช่น ไก่แปรรูป กุ้ง ที่มีการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก เป็นต้น
food_competitiveness_thailand__economic2_
ที่มา : สถาบันอาหาร
นอกจากนี้แล้ว ภาคเกษตรยังก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศ เช่น อาหารปลอดภัย อาหารที่มีเทคโนโลยีทางการผลิต เป็นต้น รวมถึงก่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาสินค้าการเกษตรหรืออาหาร ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการพัฒนาในภาคเกษตรต่อไปในอนาคต
ก่อนที่จะวิเคราะห์โครงสร้างของการส่งออกของประเทศไทย ใคร่ขอให้ท่านเห็นภาพรวมของรายได้ของประเทศก่อน กล่าวคือรายได้ของประเทศทั้งหมด 100% มาจากรายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศ 22 % และเป็นรายได้จากต่างประเทศ 78%
โครงสร้างรายได้ของประเทศไทยและรายละเอียดของแหล่งที่มา 

food_competitiveness_thailand__economic4_
โครงสร้างมูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศในรอบหนึ่งปี (GDP) ของประเทศไทย
food_economics_thailand__article_
จากผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ 2 ล้านล้านบาทนั้น เป็นส่วนของการค้าปลีกประมาณ 20% ของ GDP หรือเท่ากับ 1.77 ล้านบาท โดยในส่วนของการค้าปลีกนั้นเป็นธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่หรือโมเดิร์นเทรดมีมูลค่ายอดขายรวม  5  แสนล้านบาท  คิดเป็น  30%  ของมูลค่าค้าปลีกรวม (หรือประมาณ  6% ของ GDP)
food_economics_thailand__article2_
ธุรกิจค้าปลีกมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจหลายประการ อาทิเช่น
1) มีการจ้างงานในทางตรงกว่า  8  แสนคน
2) เกี่ยวกับธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวน  6-7  แสนรายทั่วประเทศ
3) ธุรกิจค้าปลีกชำระภาษีทุกประเภทไปแล้ว  54,000  ล้านบาท หรือ 3.5% ของจำนวนภาษีทั้งหมดที่รัฐเก็บได้ 1.55 ล้านล้านบาท
4) มูลค่าการลงทุนทั้งระบบของธุรกิจค้าปลีกในไทยจะมีประมาณ 40,000 ล้านบาท เติบโต 20% (แต่อย่างไรก็ตาม จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ปี 2551 มีการลงทุนทั้งระบบมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท)

สำหรับการเติบโตของการค้าปลีก ครึ่งปีแรกของปี 2552 อยู่ที่ 3-4% ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ มีแนวโน้มที่น่าจะดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา และมั่นใจว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคก็จะกลับคืนมาเหมือนเดิมด้วย (ที่ผ่านมามีการเติบโตปีละ โดยเฉลี่ยประมาณ 5%)  (ที่มา : นายธนภณ ตังคณานันท์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย, ข่าวเผยแพร่ของสมาคม, 25 สิงหาคม 2552)  

ในส่วนของรายได้จากต่างประเทศ 78 % นั้น มีที่มาจาก 3 แหล่งใหญ่ ได้แก่ 1)รายได้จากการส่งออก  2)รายได้จากการท่องเที่ยว และ 3)การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 

ภาพแสดงรายได้จากต่างประเทศของไทยในปี 2551
food_economics_thailand__article3_
ภาพแสดงโครงสร้างเม็ดเงินจากการส่งออกปี 2551


เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่ารายได้ที่ได้มาจากต่างประเทศล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรกรรมเกือบจะทั้งสิ้น กล่าวคือ รายได้จากการส่งออกในปี 2551 จะเป็นสินค้าอาหารเกษตร 8 แสนล้านบาท นอกจากนี้รายได้จากการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นรายได้ที่นักท่องเที่ยวใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอาหาร ซึ่งในปี 2549 มีรายได้จากร้านอาหารโดยตรงถึง 304,477 ล้านบาท
food_competitiveness_thailand__economic5_
แต่อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรกรรมควรได้รับการดูแลจากหลายๆ ฝ่าย ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน ในหลายๆ เรื่อง เช่น การส่งเสริมให้มีการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเพื่อทำให้ขายสินค้าในราคาสูงขึ้น อันจะเป็นผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงจูงให้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่เข้ามาใช้ในภาคเกษตร รวมถึงภาคการวิจัยและพัฒนาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องสนับสนุนให้เข้ามาช่วยเหลือภาคเกษตร เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่รายได้ที่มากขึ้นของประเทศ

การปลูกยางพาราให้ประสบผลสำเร็จ

สวนยางพารา
ปลูกยางอย่างไร จึงประสบผลสำเร็จ
     ยางพารา เป็นพืชที่ปลูกเพื่อหวังผลผลิตในระยะยาว จนอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป หากเกษตรกรปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ไม่เพียงแต่เกษตรกรเองที่ต้องสูญเสียเงินที่ลงทุนลงแรงไป เสียทั้งเวลาและโอกาสแล้ว ยังทำให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตและเศรษฐกิจของประเทศอย่างน่าเสียดาย การปลูกยางเกษตรกรควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ พื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วัสดุปลูก วิธีการปลูกตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูก รวมไปถึงการดูแลรักษาสวนยางอย่างถูกต้อง เช่น การใส่ปุ๋ย การปลูกพืชคลุม การตัดแต่งกิ่ง ฯลฯ เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเปิดกรีดได้เร็ว และให้ผลผลิตสูงอย่างสม่ำเสมอ
     คุณสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร บอกว่า การปลูกสร้างสวนยางเกษตรกรจำเป็นต้องเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกยาง เสียก่อน เพราะปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ในพื้นที่นาข้าว พื้นที่ลุ่มน้ำขัง พื้นที่ที่เป็นดินเค็ม ดินด่าง ดินปลวก และดินที่มีหินกรวดอัดแน่น หรือเป็นแผ่นหินแข็ง ทำให้ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต ต้นเล็กไม่ได้ขนาดเปิดกรีดเมื่ออายุ 7 ปี ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ รากแขนงของต้นยางยังไม่สามารถใช้น้ำในฤดูแล้ง ยิ่งถ้าช่วงแล้งยาวนานก็จะทำให้ต้นยางตายจากยอดได้ง่าย
     เกษตรกรจึง ควรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โดยให้พิจารณาในเรื่องของดินและภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะสภาพพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ราบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันก็ไม่ควรเกิน 35 องศา
     ถ้าความลาดชันเกิน 15 องศา จำเป็นต้องทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันต้นยางโค่นล้มได้ง่ายด้วยแรงลม พื้นที่ควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เพราะถ้าสูงเกิน จะทำให้การเจริญเติบโตลดลง นอกจากนี้ ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดาน ระดับน้ำใต้ดินควรต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร ดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 4.5-5.5 นอกจากนี้ ควรมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตร ต่อปี และมีจำนวนวันฝนตกไม่น้อยกว่า 120-150 วัน ต่อปี
     หากเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมดังกล่าว นอกจากต้นยางจะเจริญเติบโตไวแล้ว ยังให้ผลผลิตสูงและคุ้มค่ากับที่ลงทุนไป แต่ในทางตรงข้ามถ้าเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และเกิดปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง
สวนยางที่เพิ่งปลูกใหม่และสวนยางที่เปิดกรีดแล้วจะได้รับผลกระทบ ทำให้ต้นยางยืนต้นตาย ซึ่งมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
     การแก้ไข เกษตรกรก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และช่วยรักษาความชื้นในดิน การใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นยาง การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ก็จะทำให้ต้นยาง สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งการขุดคูระบายน้ำให้มีความลึกมากกว่า 2 เมตร จากระดับผิวดิน ในกรณีดินมีน้ำท่วมขัง การช่วยบำรุงต้นยางเพิ่มขึ้นโดยวิธีต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดี แต่มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเช่นกัน
     หลังจากเลือกพื้นที่ปลูกได้แล้ว ถ้าจะปลูกยางให้ประสบผลสำเร็จสูง เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโต เปิดกรีดได้เร็วขึ้นนั้น มีขั้นตอนการปลูกยาง ดังนี้
การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา
     โดยการไถพลิกและไถพรวน อย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกยางทั้งในด้านการปฏิบัติงานและการ อนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง
วางแนวปลูกต้นยางพารา
     กำหนดแถว หลักของต้นยางโดยให้วางขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดินและการพังทลายของดิน ให้แถวหลักห่างจากเขตสวนเก่า ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร พร้อมขุดคูตามแนวเขตสวน เพื่อป้องกันโรครากยางและการแย่งธาตุอาหาร จากนั้นวางแนวปลูกด้วยการปักไม้ชะมบตามระยะปลูก สำหรับพื้นที่ลาดเทมากกว่า 15 องศา ให้วางแนวปลูกตามแนวระดับและทำขั้นบันได ควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนฤดูฝน (มีนาคม-ต้นเมษายน)
ระยะปลูกต้นยางพารา
     ถ้าเป็นพื้นที่ราบในเขตปลูกยางเดิมภาคใต้ ใช้ระยะปลูก 2.5x 8 เมตร หรือ 3×7 เมตร จะปลูกยางได้ 80 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ราบในเขตปลูกยางใหม่ ใช้ระยะปลูก 2.5×7 เมตร หรือ 3×6 เมตร หรือ 3×7 เมตร มีจำนวนต้นยาง 91 ต้น หรือ 88 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่
     ขนาดของหลุม ขุดหลุมให้มีขนาด 50x50x50 เซนติเมตร โดยขุดดินด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบไปในทางเดียวกัน ไม่ต้องถอนไม้ออก แยกดินส่วนบนและส่วนล่างไว้คนละกอง ผึ่งแดดประมาณ 1 สัปดาห์ พอดินแห้งย่อยดินให้ละเอียด นำดินส่วนบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ใส่ด้านบน
วิธีปลูกยางพารา
     การปลูกยางให้ถูกวิธี โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม จะให้ผลสำเร็จสูง มีจำนวนต้นยางรอดตาย 87-94% โดยใช้ต้นยางชำถุงพันธุ์ดี มีขนาด 1-2 ฉัตร และฉัตรยอดต้องแก่เต็มที่ เลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลงศัตรู เกษตรกรสามารถเลือกพันธุ์ยางแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง จะเห็นได้ว่าเกษตรกรในเขตปลูกยางใหม่ นิยมปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 มากกว่าร้อยละ 95 แต่ก็ยังมีพันธุ์อื่นที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเช่นกัน ได้แก่ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 226 พันธุ์ BPM 24 นอกจากพันธุ์ที่ให้น้ำยางแล้ว เกษตรกรยังสามารถเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิต
     น้ำยางและเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ PB 235 พันธุ์ PB 255 ฯลฯ หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ฉะเชิงเทรา 50 พันธุ์ AVROS 2037 พันธุ์ BPM 24 พันธุ์ดังกล่าวเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ตามแหล่งขยายพันธุ์ต้นยางที่จดทะเบียน กับกรมวิชาการเกษตร ในแหล่งปลูกยางจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงได้
     การปลูกด้วยต้นยางชำถุงจึงเป็นวิธีที่ปลูกได้ผลสูงกว่าวิธีการปลูกด้วย ต้นตอตา ยาง หรือติดตายางในแปลง เนื่องจากการปลูกยางในพื้นที่แหล่งใหม่มีปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกน้อย กว่าในเขตปลูกยางเดิมในภาคใต้ การปลูกด้วยต้นยางชำถุง ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดเวลาการดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง ทำให้กรีดได้เร็วขึ้น เมื่อเลือกต้นยางชำถุงได้แล้ว ในกรณีที่มีการขนส่งควรระวังอย่าให้ดินในถุงแตกและให้หันลำต้นไปในทิศทาง เดียวกัน เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกกัน หลังการขนส่งให้ตัดรากที่ม้วนเป็นก้อนอยู่ก้นถุงหรือที่ทะลุถุงออก นำมาวางเรียง 2-3 แถว ในแถวเดียวกัน โดยให้หันลำต้นไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ต้นยางมีโอกาสพักปรับตัว ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงย้ายลงปลูก โดยหันแผ่นตาไปทางทิศเหนือ-ใต้ ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม จากนั้นใช้มีดเฉือนก้นถุงออก ประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ จากนั้นใช้มีดกรีดข้างถุงให้ขาดออกจากกันทั้ง 2 ด้าน แต่อย่าเพิ่งดึงถุงออก เพราะจะทำให้ดินในถุงแตก จากนั้นจึงกลบดินประมาณครึ่งหลุม โดยนำดินชั้นบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างที่ผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ให้ใส่ไว้ด้านบน จากนั้นจึงดึงถุงออก กลบดินจนเสมอปากหลุม เหยียบดินรอบๆ ต้นยางให้แน่น โดยพูนดินโคนต้นยางให้สูงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขังในหลุม เสร็จแล้วใช้เศษพืชคลุมบริเวณโคนต้นยางให้มีรัศมี 50-80 เซนติเมตร โดยให้ห่างจากต้นยาง 5-10 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน
     คุณ สุขุม แนะนำว่า หลังจากปลูกยางแล้ว ยางจะให้ผลผลิตสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดการและการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา สวนยางเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกสร้างสวนยางประสบผลสำเร็จและให้ ผลผลิตสูงได้ เช่น การใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้องถูกวิธีในอัตราและเวลาตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การตัดแต่งกิ่งในช่วงปีที่ 1-2 เพื่อให้มีพื้นที่กรีด และปล่อยให้ต้นยางสร้างทรงพุ่มต่อไปโดยธรรมชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรควรหมั่นดูแลสวนยางไม่ให้มีวัชพืชขึ้นรกด้วยการปลูกพืชคลุมดินตระกูล ถั่ว เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน หรือจะปลูกพืชแซมยางในช่วง 1-3 ปี ก็เป็นวิธีที่ได้ผลดี ทำให้มีรายได้ก่อนเปิดกรีด หรือใช้วิธีถากรอบโคนต้นยาง หรือไถพรวนปีละ 2 ครั้ง โดยทำในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝนก่อนการใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นยางได้ใช้ปุ๋ยอย่างเต็มที่ พร้อมหมั่นตรวจตราดูแลในเรื่องโรคและแมลง เพื่อหาวิธีป้องกันการระบาดเสียแต่เนิ่นๆ ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สวนยาง พอถึงช่วงฤดูแล้งควรคลุมโคนต้นยาง ก็ช่วยให้ยางรอดตายได้ หรือไม่ก็ทาปูนขาว หรือสีน้ำมันบริเวณโคนต้นยาง นอกจากจะป้องกันเปลือกไหม้จากแสงแดดได้แล้ว ยังช่วยลดการสูญเสียน้ำของต้นยางอีกด้วย
     หากเกษตรกรท่านใดคิดจะ ปลูกยางในช่วงต้นพฤษภาคมนี้ ต้องมีความพร้อมทั้งในเรื่องของการเลือกพื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วิธีการปลูกที่ถูกวิธี และหัวใจสำคัญของการปลูกยางก็คือ การปฏิบัติต่อต้นยางเป็นอย่างดี เชื่อว่าการปลูกสร้างสวนยางย่อมประสบผลสำเร็จและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าอย่าง แน่นอน เกษตรกรท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 579-7557-8 ต่อ 181, 522, 501 ได้ในเวลาราชการ

ศักยภาพของภาคเกษตรไทย ในความเป็นจริง...

ก่อนที่จะเห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารของไทย พรศรีและทีมงานคิดว่าเราควรมาศึกษาภาพรวมของภาคเกษตรของไทยเสียก่อน พร้อมทั้งวิเคราะห์ว่าศักยภาพของภาคเกษตรไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กับภาพที่เรารู้จักนั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ยังคงเป็นคำพูดที่หลายๆ คนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งคำพูดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบันนี้ พร้อมกับชื่อเสียงของประเทศที่มีความแข็งแกร่งในด้านเกษตรกรรม
ความสำคัญของภาคเกษตรไทย 
ประการแรก คือ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ โดยรายได้ภาคเกษตรคิดเป็น 9% ของ GDP รวม (GDP : Gross Domestic Product คือ มูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศในรอบหนึ่งปี ส่วน GNP : Gross National Product คือ มูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตของชาติในรอบหนึ่งปี)  ดังตาราง

ที่มา : ข้อมูลเบื้องต้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
food_competitiveness_thailand__economic1_
ประการต่อมา ภาคเกษตรเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ กำลังแรงงานในภาคเกษตร (37.70%) นับว่าเป็นจำนวนแรงงานที่มากที่สุด เมื่อเปรียบกับภาคอื่นๆ  เช่น ภาคอุตสาหกรรม (15.50%), ภาคการค้าส่ง,ค้าปลีก (15.40%) และภาคบริการอื่นๆ(31.50%) เป็นต้น แต่ในทางตรงกันข้ามพบว่าศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรไทยต่ำกว่าภาคอื่นๆ กล่าว คือ ภาคเกษตรใช้จำนวนแรงงานมาก แต่กลับได้ค่า GDP น้อยที่สุดและเมื่อคำนวณอัตราส่วนแรงงานต่อ GDP ภาคเกษตรคิดเป็นเกือบ 11 เท่าของภาคอุตสาหกรรม หรือคิดเป็นประมาณ 4 เท่าของภาคการค้าส่ง, ค้าปลีก  ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ประสิทธิภาพทางการผลิตในภาคเกษตรต่ำจึงทำให้ผลตอบแทนจากการใช้แรงงาน หรือ รายได้ที่ได้จากการใช้แรงงานนั้นต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ต่อคนต่ำตามไปด้วย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,230 บาทต่อคนต่อเดือน (คำกล่าวของนายแพทย์จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ปี 2549)
ประการที่สาม ภาคเกษตรสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยมีอาหารหลายชนิดที่มีการส่งออกเป็นลำดับต้นๆ ของโลก (ดังตาราง) หรืออาจได้กล่าวว่า สินค้าบางชนิด ประเทศไทยเป็นเจ้าตลาดก็ว่าได้ เช่น ไก่แปรรูป กุ้ง ที่มีการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก เป็นต้น
food_competitiveness_thailand__economic2_
ที่มา : สถาบันอาหาร
นอกจากนี้แล้ว ภาคเกษตรยังก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศ เช่น อาหารปลอดภัย อาหารที่มีเทคโนโลยีทางการผลิต เป็นต้น รวมถึงก่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาสินค้าการเกษตรหรืออาหาร ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการพัฒนาในภาคเกษตรต่อไปในอนาคต
ก่อนที่จะวิเคราะห์โครงสร้างของการส่งออกของประเทศไทย ใคร่ขอให้ท่านเห็นภาพรวมของรายได้ของประเทศก่อน กล่าวคือรายได้ของประเทศทั้งหมด 100% มาจากรายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศ 22 % และเป็นรายได้จากต่างประเทศ 78%
โครงสร้างรายได้ของประเทศไทยและรายละเอียดของแหล่งที่มา 

food_competitiveness_thailand__economic4_
โครงสร้างมูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศในรอบหนึ่งปี (GDP) ของประเทศไทย
food_economics_thailand__article_
จากผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ 2 ล้านล้านบาทนั้น เป็นส่วนของการค้าปลีกประมาณ 20% ของ GDP หรือเท่ากับ 1.77 ล้านบาท โดยในส่วนของการค้าปลีกนั้นเป็นธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่หรือโมเดิร์นเทรดมีมูลค่ายอดขายรวม  5  แสนล้านบาท  คิดเป็น  30%  ของมูลค่าค้าปลีกรวม (หรือประมาณ  6% ของ GDP)
food_economics_thailand__article2_
ธุรกิจค้าปลีกมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจหลายประการ อาทิเช่น
1) มีการจ้างงานในทางตรงกว่า  8  แสนคน
2) เกี่ยวกับธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวน  6-7  แสนรายทั่วประเทศ
3) ธุรกิจค้าปลีกชำระภาษีทุกประเภทไปแล้ว  54,000  ล้านบาท หรือ 3.5% ของจำนวนภาษีทั้งหมดที่รัฐเก็บได้ 1.55 ล้านล้านบาท
4) มูลค่าการลงทุนทั้งระบบของธุรกิจค้าปลีกในไทยจะมีประมาณ 40,000 ล้านบาท เติบโต 20% (แต่อย่างไรก็ตาม จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ปี 2551 มีการลงทุนทั้งระบบมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท)

สำหรับการเติบโตของการค้าปลีก ครึ่งปีแรกของปี 2552 อยู่ที่ 3-4% ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ มีแนวโน้มที่น่าจะดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา และมั่นใจว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคก็จะกลับคืนมาเหมือนเดิมด้วย (ที่ผ่านมามีการเติบโตปีละ โดยเฉลี่ยประมาณ 5%)  (ที่มา : นายธนภณ ตังคณานันท์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย, ข่าวเผยแพร่ของสมาคม, 25 สิงหาคม 2552)  

ในส่วนของรายได้จากต่างประเทศ 78 % นั้น มีที่มาจาก 3 แหล่งใหญ่ ได้แก่ 1)รายได้จากการส่งออก  2)รายได้จากการท่องเที่ยว และ 3)การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 

ภาพแสดงรายได้จากต่างประเทศของไทยในปี 2551
food_economics_thailand__article3_
ภาพแสดงโครงสร้างเม็ดเงินจากการส่งออกปี 2551


เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่ารายได้ที่ได้มาจากต่างประเทศล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรกรรมเกือบจะทั้งสิ้น กล่าวคือ รายได้จากการส่งออกในปี 2551 จะเป็นสินค้าอาหารเกษตร 8 แสนล้านบาท นอกจากนี้รายได้จากการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นรายได้ที่นักท่องเที่ยวใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอาหาร ซึ่งในปี 2549 มีรายได้จากร้านอาหารโดยตรงถึง 304,477 ล้านบาท
food_competitiveness_thailand__economic5_
แต่อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรกรรมควรได้รับการดูแลจากหลายๆ ฝ่าย ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน ในหลายๆ เรื่อง เช่น การส่งเสริมให้มีการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเพื่อทำให้ขายสินค้าในราคาสูงขึ้น อันจะเป็นผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงจูงให้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่เข้ามาใช้ในภาคเกษตร รวมถึงภาคการวิจัยและพัฒนาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องสนับสนุนให้เข้ามาช่วยเหลือภาคเกษตร เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่รายได้ที่มากขึ้นของประเทศ

เกษตรตามแนว "ทฤษฎีใหม่"

เกษตรตามแนว "ทฤษฎีใหม่"

               "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านช่วงวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
                 การดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้นตอน คือ
1 ) การผลิต ให้พึ่งตนเองด้วยวิธีง่าย ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกิน
2 ) การรวมพลังกันในรูปแบบ หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกัน ในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา
3 ) การดำเนินธุรกิจโดยติดต่อ ประสานงาน จัดหาทุนหรือแหล่งเงิน
               ในขั้นแรกที่เป็นการผลิต ถือเป็นขั้นสำคัญที่สุด ให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 หมายถึง
01.jpg (17076 bytes)
ขุดสระเก็บกักน้ำพื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ
02.jpg (22351 bytes)
ปลูกข้าวพื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารพึ่งตนเองได้
03.jpg (18094 bytes)
ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผักพื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกัน และหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลิอจากการบริโภคก็นำไปขายได้
04.jpg (13840 bytes)
เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆพื้นที่ประมาณ 10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่น๐ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ
  • หลักการและแนวทางสำคัญในการดำเนินงานเกษตรตามแนว "ทฤษฎีใหม่" ที่ควรทราบมีดังนี้
    - เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน
    - ต้องมีพื้นที่ส่วนหนึ่งทำนาข้าว เพราะข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนต้องปลูก เพื่อให้มีข้าวพอบริโภคตลอดทั้งปี
    - ต้องมีน้ำสำรองไว้ใช้เพียงพอตลอดปี เพื่อการเพาะปลูกในระยะฝนทิ้งช่วง หรือในฤดูแล้ง
    - ใช้อัตราส่วน 
    30 : 30 : 30 : 10 ในการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ไม่ว่าจะมีพื้นที่ถ์อครองน้อยกว่าหรือมากกว่า 15 ไร่ คือ
    30  % ใช้ขุดสระเก็บกักน้ำ
    30  %  ใช้ปลูกข้าว
    30  %  ใช้ปลูกพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ ไม้ยืนต้น
    10  %   ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ
  • ประโยชน์ของ "ทฤษฎีใหม่ สรุปได้ดังนี้
    - ประชาชนพออยู่พอกินในระดับประหยัด เลี้ยงตนเองได้ ไม่อดอยาก ตามหลักปรัชญาของ "เศรษฐกิจพอเพียง"
    - ในหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่เก็บกักไว้ในสระมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องอาศัยชลประทาน
    - ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาล ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยได้
    - ในกรณีที่เกิดอุทกภัย ก็สามารถฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก
              ในการจัดการเกษตรตามแนว "ทฤษฎีใหม่" ให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ประเด็นสำคัญ คือ การพึ่งตนเอง ประหยัด และมัธยัสถ์ ก่อให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยการจัดการแบ่งพื้นที่ให้สัมพันธ์ และเกื้อกูลกัน ซึ่งเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน น้ำ แรงงาน และรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น อันจะนำไปสู่การผลิตที่เกิดรายได้ และสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน.

การตอนมะละกอ