วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศักยภาพของภาคเกษตรไทย ในความเป็นจริง...

ก่อนที่จะเห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารของไทย พรศรีและทีมงานคิดว่าเราควรมาศึกษาภาพรวมของภาคเกษตรของไทยเสียก่อน พร้อมทั้งวิเคราะห์ว่าศักยภาพของภาคเกษตรไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กับภาพที่เรารู้จักนั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ยังคงเป็นคำพูดที่หลายๆ คนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งคำพูดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบันนี้ พร้อมกับชื่อเสียงของประเทศที่มีความแข็งแกร่งในด้านเกษตรกรรม
ความสำคัญของภาคเกษตรไทย 
ประการแรก คือ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ โดยรายได้ภาคเกษตรคิดเป็น 9% ของ GDP รวม (GDP : Gross Domestic Product คือ มูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศในรอบหนึ่งปี ส่วน GNP : Gross National Product คือ มูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตของชาติในรอบหนึ่งปี)  ดังตาราง

ที่มา : ข้อมูลเบื้องต้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย
food_competitiveness_thailand__economic1_
ประการต่อมา ภาคเกษตรเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ กำลังแรงงานในภาคเกษตร (37.70%) นับว่าเป็นจำนวนแรงงานที่มากที่สุด เมื่อเปรียบกับภาคอื่นๆ  เช่น ภาคอุตสาหกรรม (15.50%), ภาคการค้าส่ง,ค้าปลีก (15.40%) และภาคบริการอื่นๆ(31.50%) เป็นต้น แต่ในทางตรงกันข้ามพบว่าศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรไทยต่ำกว่าภาคอื่นๆ กล่าว คือ ภาคเกษตรใช้จำนวนแรงงานมาก แต่กลับได้ค่า GDP น้อยที่สุดและเมื่อคำนวณอัตราส่วนแรงงานต่อ GDP ภาคเกษตรคิดเป็นเกือบ 11 เท่าของภาคอุตสาหกรรม หรือคิดเป็นประมาณ 4 เท่าของภาคการค้าส่ง, ค้าปลีก  ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ประสิทธิภาพทางการผลิตในภาคเกษตรต่ำจึงทำให้ผลตอบแทนจากการใช้แรงงาน หรือ รายได้ที่ได้จากการใช้แรงงานนั้นต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ต่อคนต่ำตามไปด้วย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,230 บาทต่อคนต่อเดือน (คำกล่าวของนายแพทย์จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ปี 2549)
ประการที่สาม ภาคเกษตรสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยมีอาหารหลายชนิดที่มีการส่งออกเป็นลำดับต้นๆ ของโลก (ดังตาราง) หรืออาจได้กล่าวว่า สินค้าบางชนิด ประเทศไทยเป็นเจ้าตลาดก็ว่าได้ เช่น ไก่แปรรูป กุ้ง ที่มีการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก เป็นต้น
food_competitiveness_thailand__economic2_
ที่มา : สถาบันอาหาร
นอกจากนี้แล้ว ภาคเกษตรยังก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศ เช่น อาหารปลอดภัย อาหารที่มีเทคโนโลยีทางการผลิต เป็นต้น รวมถึงก่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาสินค้าการเกษตรหรืออาหาร ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการพัฒนาในภาคเกษตรต่อไปในอนาคต
ก่อนที่จะวิเคราะห์โครงสร้างของการส่งออกของประเทศไทย ใคร่ขอให้ท่านเห็นภาพรวมของรายได้ของประเทศก่อน กล่าวคือรายได้ของประเทศทั้งหมด 100% มาจากรายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศ 22 % และเป็นรายได้จากต่างประเทศ 78%
โครงสร้างรายได้ของประเทศไทยและรายละเอียดของแหล่งที่มา 

food_competitiveness_thailand__economic4_
โครงสร้างมูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศในรอบหนึ่งปี (GDP) ของประเทศไทย
food_economics_thailand__article_
จากผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ 2 ล้านล้านบาทนั้น เป็นส่วนของการค้าปลีกประมาณ 20% ของ GDP หรือเท่ากับ 1.77 ล้านบาท โดยในส่วนของการค้าปลีกนั้นเป็นธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่หรือโมเดิร์นเทรดมีมูลค่ายอดขายรวม  5  แสนล้านบาท  คิดเป็น  30%  ของมูลค่าค้าปลีกรวม (หรือประมาณ  6% ของ GDP)
food_economics_thailand__article2_
ธุรกิจค้าปลีกมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจหลายประการ อาทิเช่น
1) มีการจ้างงานในทางตรงกว่า  8  แสนคน
2) เกี่ยวกับธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวน  6-7  แสนรายทั่วประเทศ
3) ธุรกิจค้าปลีกชำระภาษีทุกประเภทไปแล้ว  54,000  ล้านบาท หรือ 3.5% ของจำนวนภาษีทั้งหมดที่รัฐเก็บได้ 1.55 ล้านล้านบาท
4) มูลค่าการลงทุนทั้งระบบของธุรกิจค้าปลีกในไทยจะมีประมาณ 40,000 ล้านบาท เติบโต 20% (แต่อย่างไรก็ตาม จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ปี 2551 มีการลงทุนทั้งระบบมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท)

สำหรับการเติบโตของการค้าปลีก ครึ่งปีแรกของปี 2552 อยู่ที่ 3-4% ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ มีแนวโน้มที่น่าจะดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา และมั่นใจว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคก็จะกลับคืนมาเหมือนเดิมด้วย (ที่ผ่านมามีการเติบโตปีละ โดยเฉลี่ยประมาณ 5%)  (ที่มา : นายธนภณ ตังคณานันท์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย, ข่าวเผยแพร่ของสมาคม, 25 สิงหาคม 2552)  

ในส่วนของรายได้จากต่างประเทศ 78 % นั้น มีที่มาจาก 3 แหล่งใหญ่ ได้แก่ 1)รายได้จากการส่งออก  2)รายได้จากการท่องเที่ยว และ 3)การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 

ภาพแสดงรายได้จากต่างประเทศของไทยในปี 2551
food_economics_thailand__article3_
ภาพแสดงโครงสร้างเม็ดเงินจากการส่งออกปี 2551


เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่ารายได้ที่ได้มาจากต่างประเทศล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรกรรมเกือบจะทั้งสิ้น กล่าวคือ รายได้จากการส่งออกในปี 2551 จะเป็นสินค้าอาหารเกษตร 8 แสนล้านบาท นอกจากนี้รายได้จากการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นรายได้ที่นักท่องเที่ยวใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอาหาร ซึ่งในปี 2549 มีรายได้จากร้านอาหารโดยตรงถึง 304,477 ล้านบาท
food_competitiveness_thailand__economic5_
แต่อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรกรรมควรได้รับการดูแลจากหลายๆ ฝ่าย ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน ในหลายๆ เรื่อง เช่น การส่งเสริมให้มีการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเพื่อทำให้ขายสินค้าในราคาสูงขึ้น อันจะเป็นผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงจูงให้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่เข้ามาใช้ในภาคเกษตร รวมถึงภาคการวิจัยและพัฒนาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องสนับสนุนให้เข้ามาช่วยเหลือภาคเกษตร เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่รายได้ที่มากขึ้นของประเทศ

1 ความคิดเห็น: