วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การทำนาข้าว

    พันธุ์และช่วงเวลาปลูกข้าว พันธุ์ข้าวมี 2 ชนิด คือ 1.      ชนิดไม่ไวแสง  สามารถเพาะปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง  มีอายุเก็บเกี่ยว 110 – 130 วัน ส่วนมากให้ผลผลิตต่อไร่ 100 ถัง เนื่องจากตอบสนองต่อปุ๋ยดี ตัวอย่าง เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี1, สุพรรณบุรี2, ชัยนาท 1, กข. 23 ,เจ้าหอมคลองหลวง1 , และเจ้าหอมสุพรรณบุรี ช่วงเวลาปลูกทำได้ตลอดปีขึ้นอยู่กับสภาพน้ำ แนะนำให้เขตชลประทานโดยวิธีการปักดำ   หรือหว่านข้าวตมอย่างไรก็ดี ไม่แนะ นำให้ปลูกติดต่อกันตลอดปีเป็นเวลานาน ควรปลูกคั่นด้วยพืชหมุนเวียนบ้างในบางฤดู จะช่วยตัดวงจรศัตรูพืชและรักษาสภาพดินที่ ใช้เพาะปลูกข้าว ให้คงความสมบูรณ์ 2.      ชนิดไวแสง  ปลูกได้เฉพาะนาปี มีวันเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างแน่นอน ไม่ว่าจะปลูกเมื่อใด ส่วนมากให้ผลผลิตไม่สูงมากเพราะ ตอบสนองต่อปุ๋ยต่ำ ตัวอย่าง  เช่น  พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 , กข.15 , ขาวตาแห้ง 17 , เหลืองประทิว 123 , และปิ่นแก้ว 56 ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมประมาณเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม  โดยนับวันเก็บเกี่ยวย้อนขึ้นมาให้ข้าวมีอายุ 92-120 วัน (ถ้าใช้วิธีหว่านอายุข้าวจะสั้นลง)  ทั้งนี้ให้พิจารณาประกอบกับสภาพน้ำ ในเขตนาน้ำฝนอาจใช้วิธีหว่านข้าวแห้ง หรือปักดำ วิธีการปลูกข้าว         การทำนาโดยทั่วไปมี 3 วิธี  คือ  นาหว่าน  นาหยอด และนาดำ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่  เช่นที่สูง ที่ลุ่ม  ที่น้ำลึก  สภาพน้ำ  เช่น  เขตน้ำฝน  เขตชลประทาน  สภาพสังคม  เช่น  มีแรงงานหรือไม่มีแรงงาน  สภาพเศรษฐกิจ   เช่น  มีเงินทุนมากหรือน้อย  มีรายละเอียด  คือ   1.      นาหว่าน  ส่วนมากนิยม เนื่องจากขาดแคลนแรงงานสภาพน้ำจำกัด  ยากแก่การปักดำข้าว  หรือพื้นที่อยู่ในเขตน้ำฝนไม่สามารถ ควบคุมปริมาณน้ำได้  เป็นการปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านลงไปในนาที่เตรียมดินไว้แล้ว มี 2 วิธี คือ (1) หว่านข้าวแห้งหรือหว่าน สำรวย (2) หว่านข้าวตม หรือข้าวงอกหรือหว่านเพาะเลย (1) การหว่านข้าวแห้ง   มักใช้วิธีนี้ในเขตนาน้ำฝนหรือในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำไม่ได้  โดยเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไม่ได้เพาะให้งอกเสียก่อน เรียกอีกอย่าง คือ หว่านสำรวย เป็นการหว่านคอยฝนในสภาพดินแห้ง โดยหว่านหลังจากไถแปร  เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หว่าน ไว้จะได้งอก  บางกรณีเพื่อป้องกันการทำลายของศัตรูข้าว จะมีการคราดกลบเมล็ดหลังการหว่าน  ซึ่งอาจเรียกว่าหว่านคราดกลบ         อีกกรณีหนึ่งเป็นการหว่านในสภาพดินเปียก คือ มีฝนตกเมื่อไถแปรแล้ว ก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามทันทีแล้วคราดกลบ  วิธีนี้เรียกว่า  หว่านหลังขี้ไถ การหว่านข้าวแห้งจะใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณไร่ละ 10 – 15 กก. (2)     การหว่านข้าวตม  หรือหว่านข้าวงอก  หรือหว่านเพาะเลย  เป็นการหว่านโดยการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีการเพาะให้งอกกล่าว คือ แช่น้ำสะอาด  12 – 24 ชั่วโมง แล้วนำไปหุ้ม 30 – 48 ชม.  จนมีรากงอกยาวประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร  ที่เรียกว่า  ตุ่มตา  แล้วหว่านลง ในพื้นที่นาที่เตรียมไว้อย่างดี  คือ  ไถดะ  ไถแปร  และทำเทือกจนราบเรียบ  วิธีนี้บางกรณีในเขตนาน้ำฝนควบคุมน้ำได้ยาก  จำเป็นต้อง หว่านในเทือกที่มีน้ำขัง  แต่ในเขตชลประทาน ควรระบายน้ำให้เทือกนุ่มพอดี  สังเกตจากเมล็ดข้าวที่หว่านจะจมในเทือกประมาณครึ่งหนึ่ง ของเมล็ดแนวนอนเมื่อข้าวงอกแล้วค่อยๆระบายน้ำเข้านา  แต่ไม่ให้ท่วมยอดต้นข้าว การหว่านน้ำตม ถ้าเตรียมดินดีวัชพืชน้อยใช้อัตราเมล็ด พันธุ์ไร่ละ  10-15 กก. แต่ถ้าเตรียมดินไม่ดี มีวัชพืชมากในอัตราเมล็ดพันธุ์ไร่ละ  15 – 20 กก. 2.      นาหยอด  นิยมในสภาพพื้นที่สูง  พื้นที่ไร่  หรือในสภาพนาที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ใช้เมล็ดข้าวแห้งที่ไม่ได้เพาะให้งอก  หยอดลง ไปในหลุมที่เตรียมไว้โดยใช้จอบเสียม  หรือใช้ไม้กระทุ้ง  ตลอดจนใช้เครื่องหยอด หรืออีกวิธี โดยการโรยเป็นแถว  ในร่องที่ทำเตรียมไว้ แล้วกลบดินฝังเมล็ดข้าว เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวที่หยอดจะงอก ในสภาพไร่หรือที่สูง  อาจทำเป็นหลุมลึก 4-5 เซนติเมตร  หยอดเมล็ดข้าว หลุมละ 5-6 เมล็ด  ส่วนในที่ราบสูง  เช่น  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถทำร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร  นาหยอดจะใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร ่ประมาณ 8-10 กก. 3.      นาดำ  เป็นวิธีการปลูกข้าว โดยแบ่งการปลูกเป็น 2 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นตอนการตกกล้า (2) ขั้นตอนการปักดำ  ปัจจุบันเกษตรกรนิยม ปักดำน้อยลง เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ดี การปักดำ เป็นวิธีการปลูกข้าวที่สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีกว่านาหว่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น